วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในบริบททางสังคมของ อินเดียในสมัยพุทธกาล ที่เป็นปัจจัยทำให้พระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์ ตลอดถึง พุทธวิธีในการจัดองค์กรคณะสงฆ์ รวมทั้งปัญหาและวิธีการป้องกันแก้ไขในการจัดองค์กร คณะสงฆ์สมัยพุทธกาล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรคณะสงฆ์และสังคมทั่วไปในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าบริบททางสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล กำลังอยู่ในช่วงระยะ ของการเจริญเติบโตทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษาและสังคม ทำให้ เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่อยู่ในวรรณะต่ำจะ ได้รับการเบียดเบียน และการเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มบุคคลที่อยู่ในวรรณะสูง ซึ่งในยุคนั้น พราหมณ์จัดได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสังคม การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ขององค์กรคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นทางเลือก อย่างหนึ่งของคนในสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล ที่ต้องการแสวงหาแนวทางในการดำเนิน ชีวิตในรูปแบบใหม่ที่มีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคนในสังคม หลังจากการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก จึงทำให้มีบุคคลจากวรรณะต่าง ๆ เข้ามาบวชเป็นจำนวนมาก การตั้งและการจัดองค์กรคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาล เป็นการจัดสภาพการณ์ทาง สังคมเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาตนเองของสมาชิกในองค์กรคณะ สงฆ์ ให้ ได้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดที่เรียกว่า พระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของสังคมพุทธ โดย มีพระธรรมวินัยเป็นหลักในการปกครองและให้การศึกษาพัฒนาตนเองของภิกษุที่เป็น สมาชิก ในองค์กรคณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธวิธีในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากการจัด องค์กรคณะสงฆ์ ด้วยการยึดหลักพระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน จึงทำให้การ ดำเนินการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นในองค์กรคณะสงฆ์สมัยพุทธกาลสำเร็จลุล่วง ไปด้วยดี และหลักการที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ก็ยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน การนำเอาแนวความคิดเกี่ยวกับ การจัดองค์กรคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาสมัย พุทธกาล มาประยุกต์ใช้ในองค์กรคณะสงฆ์และสังคมทั่วไปในสมัยปัจจุบันจะทำให้ได้รับ ประโยชน์ ๒ ประการ คือ ๑. ในด้านศาสนธรรม คือ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเนื้อหาสาระ หรือคุณค่าแท้ที่อยู่ในรูปแบบของการจัดองค์กรคณะสงฆ์ ๒. ในด้านรูปแบบและวิธีการการจัดองค์กร ซึ่งยืนยันถึงผลสำเร็จของการนำ แนวคิดมาปฏิบัติและให้เห็นผลจริงในสังคม
Download : 254811.pdf