Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหามหรรถพงศ์ กวิวํโส (ศรีสุเมธิตานนท์)
 
Counter : 19990 time
การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องสิทธิของจอห์น ล็อคกับพุทธปรัชญาเถรวาท(๒๕๔๘)
Researcher : พระมหามหรรถพงศ์ กวิวํโส (ศรีสุเมธิตานนท์) date : 23/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
Committee :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  รศ.ดร. สมภาร พรมทา
  ดร. สุรพล สุยะพรหม
Graduate : ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๘
 
Abstract

     วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องสิทธิของจอห์น ล็อคกับพุทธปรัชญาเถรวาทโดยผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นที่สำคัญในการศึกษาออก เป็น ๓ ประการคือ (๑) แนวความคิดเรื่องสิทธิในทรรศนะของจอห์น ล็อค (๒) แนวความคิดเรื่องสิทธิในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท และ (๓) การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องสิทธิของจอห์น ล็อคกับพุทธปรัชญาเถรวาท ผลจากการศึกษาวิจัยมีข้อสรุปที่สำคัญคือ
(๑) แนวความคิดเรื่องสิทธิในทรรศนะของจอห์น ล็อค เป็นสิทธิพื้นฐานที่พยายามจะสนองความมีส่วนร่วมในการมีผลประโยชน์ร่วมกันของ ปัจเจกชนในสังคมโดยปัจเจกชนนั้น ควรมีสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังนี้คือ
๑.๑ สิทธิในตัวเอง กล่าวคือมนุษย์เมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชีวิตของตนเอง
๑.๒ สิทธิในทรัพย์สิน ล็อคได้ให้ความสำคัญในความหมายของสิทธิในทรัพย์สินว่า จุดมุ่งหมายอันประเสริฐสุดของมวลมนุษยชาติ คือการรวมกันเป็นจักรภพและยอมที่จะให้รัฐบาลเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองใน ทรัพย์สินของ ตนเอง
๑.๓ สิทธิทางการเมืองการปกครองทรรศนะที่เกิดจากปัจจัยทางการเมืองการปกครอง ล็อคให้ความหมายอำนาจทางการเมืองว่าสิทธิในการจัดทำกฎหมายพร้อมด้วยบทลงโทษ ถึงชีวิตและโทษที่เบาบางลงไปทั้งหมดสำหรับวางระเบียบควบคุมและสงวนรักษา ทรัพย์สินและสิทธิในการใช้พลังของประชาชนเพื่อบริหารให้เป็นไปตามกฎธรรมชาติ นั้นๆเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม
(๒) แนวความคิดเรื่องสิทธิของพุทธปรัชญาเถรวาท
พุทธปรัชญาเถรวาทมีคำสอนที่สอดคล้องกับสิทธิทางธรรมโดยสรุปดังต่อไปนี้ คือ (๑) สิทธิในชีวิต (๒) สิทธิในการยอมรับนับถือ (๓) สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง และ(๔) สิทธิในการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์พื้นฐานทางธรรม
จากทรรศนะเรื่องสิทธิในแนวความคิดของล็อคและพุทธปรัชญาเถรวาทได้ข้อเปรียบ เทียบในเรื่องของความแตกต่างกันและเหมือนกันในเบื้องต้นคือทั้งสองทรรศนะจะ กล่าวถึงเรื่องสิทธิโดยธรรมชาติว่ามนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันตั้งแต่กำเนิด หมายถึงสิทธิในชีวิตในทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น ถึงแม้จะไม่ได้ให้ความสำคัญสิทธิกับเรื่องการเมืองการปกครองไว้โดยตรงแต่ก็ มีหลักธรรมที่สนับสนุนการเมืองการปกครองตามแนวแห่งอุดมรัฐที่ปรากฏอยู่ใน หลักพุทธปรัชญาเถรวาทในหลักธรรมและพระสูตรต่างๆอยู่หลายแห่งเช่นจักกวัตติ สูตร หลักทศพิธราชธรรม สิงคาลกสูตรเป็นต้นโดยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นหลักพุทธธรรมทั้งมวลมีเป้า หมายที่ให้ความสำคัญทั้งความสุขแบบโลกียะและโลกุตตรสุขอันเป็นบรมสุข การที่พุทธปรัชญาเถรวาทมีทรรศนะเรื่องสิทธิก็มีจดมุ่งหมายเพื่อความอยู่ดีมี สุขทั้งสองเป้าหมายหลักเป็นสำคัญ จากการศึกษาวิจัยก็จะพบว่า พุทธปรัชญาเถรวาทมีทรรศนะว่าบุคคลทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีสภาวะแห่ง พุทธะอยู่ในตัวทั้งสิ้นโดยมองพื้นฐานที่หยั่งลึกไปถึงจิตเดิมของปัจเจกชนว่า เป็นปภัสสรคือความผ่องใสของจิตเดิม บุคคลทั้งหลายล้วนมีสิทธิเข้าถึงธรรมอันเป็นโลกุตตรธรรมตามหลักของพระ พุทธองค์แทบทั้งสิ้นแต่ก็มีเหตุและผลฝ่ายบวกในเรื่องของกรรมคือการกระทำที่ สั่งสมมาเป็นเครื่องสนับสนุนที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นจึงเห็นความเหมือนและความแตกต่างอย่างชัดเจน ในเรื่องของจุดมุ่งหมาย ตามแนวความคิดเรื่องสิทธิของจอห์น ล็อค กับพุทธปรัชญาเถรวาทตรงประเด็นที่ว่าสิทธิของจอห์น ล็อคนั้นเป้าหมายหลักคือความอยู่ดีกินดีและเป็นเจ้าของสิทธิและทรัพย์สินใน ระดับความสุขแบบโลกียะขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาทเน้นเป้าหมายไปทั้งความสุขของ มวลมนุษยชาติแบบโลกียะอันประกอบด้วยธรรม และความสุขที่เป็นบรมสุข คือการมีสิทธิได้เข้าถึงมรรคผลอันสูงสุดตามแนวของพระพุทธองค์กล่าวคือโลกุ ตตรธรรมอันมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด

Download : 254864.pdf


Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012