หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระครูสิริรัตนานุวัตร » ปริศนาธรรมในเทศกาลวันสงกรานต์
 
เข้าชม : ๙๗๔๘ ครั้ง

''ปริศนาธรรมในเทศกาลวันสงกรานต์''
 
พระครูสิริรัตนานุวัตร (2553)

บทนำ

       เรื่องสงกรานต์นี้ ประการแรกขอทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า เนื่องจากได้ยินหลาย
คนนิยมเรียกกันว่าประเพณีบ้าง เทศกาลบ้าง สำหรับผู้เขียนแล้ว จะใช้คำว่า เทศกาลสงกรานต์
เพราะพิธีการเช่นนี้จัดเป็นเทศกาล เนื่องจากว่าเกิดขึ้นตามการเสวยฤกษ์ของราศีเมษ บรรจบ
ครบรอบในวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เดือนเมษายนของทุกปี คือเกิดขึ้นปีละ ๑ ครั้ง เรียกว่าเกิดมา
ตามกาลเวลา ไม่ได้มีขึ้นตามที่คิดอยากจะให้มี ในลักษณะเดียวกันนี้ ก็มีทอดกฐิน ลอยกระทง
หรือประเพณีประจำเดือน (จากเทศกาลฮีดสิบสองคลองสิบสี่) ส่วนที่เรียกว่าประเพณีนั้น เป็น
กรณีที่คนส่วนมากนิยมถือกันมาช้านาน แต่ไม่จำกัดเวลาทำ คือทำเวลาใดก็ได้ เช่นประเพณี
แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชพระบวชเณร ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทาน จึงฟันธงได้เลยว่า
เทศกาลสงกรานต์ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ย้ายที่ เคลื่อนที่
หรือย่างขึ้น คือว่า ดวงอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ คนไทยถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่
๑๓-๑๔-๑๕ เมษายนของทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหา
สงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก สำหรับวันเถลิงศก แปลว่า “วันขึ้น
ศกใหม่” คือจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์
นี้ก็เพื่อให้แก้ปัญหาเวลาขาด เพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบ
ถ้วน คนไทยถือคติปีใหม่นี้ ด้วยการเฉลิมฉลองกัน ก็พอ ๆ กับเฉลิมฉลองในวันปีใหม่สากล คือ
วันที่ ๑ มกราคม นั่นเอง
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕