หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระมหาสายัญ สิริปญฺโญฺ » สัปเหร่อ : ธรรมะบูรณาการบนเชิงตะกอน
 
เข้าชม : ๑๓๑๔๒ ครั้ง

''สัปเหร่อ : ธรรมะบูรณาการบนเชิงตะกอน''
 
พระมหาสายัญ สิริปญฺโญฺ (2553)

ความนำ

          สัปเหร่อ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศพ ตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่ง
นำศพไปฝังหรือเผา (๒๕๔๒ : ๑๑๖๘) ตรงกับคำว่า “Undertaker” ในภาษาอังกฤษ
(McFarland, ๑๙๔๑: ๘๕๐) ในภาษาบาลีมีคำที่ใช้เรียกสัปเหร่อเช่นกันคือคำว่า “ฉวทาหกหรือ ฉวฑาหก” (Rhys Davids and Stede, ๒๐๐๔ : ๒๘๔, แปลก สนธิรักษ์, ๒๕๐๖:๑๑๓, Bhuddhadatta, ๑๙๖๘: ๑๐๖) สัปเหร่อจึงเป็นอาชีพที่จัดการเกี่ยวกับศพหรือทำพิธีศพทั้งพิธีเผาและฝัง ถ้าจะกล่าวว่าสัปเหร่อเลี้ยงชีวิตด้วยการเผาศพ สัปเหร่อก็น่าจะหมายถึงอาชีพหนึ่งได้เช่นกันในสมัยพุทธกาลได้ปรากฏว่า มีอาชีพสัปเหร่อแล้ว ดังปรากฏหลักฐานในพระวินัยคัมภีร์มหาวรรคที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามพระภิกษุผู้ที่ไม่มีที่จำพรรษาห้ามจำพรรษาในกระท่อมผี และทรงปรับอาบัติทุกกฏสำหรับพระรูปที่จำพรรษาในกระท่อมผี สาเหตุเนื่องมาจากมีชาวบ้านไปพบและได้โจษขานรวมถึงกล่าวติเตียนไปต่างๆ นานา เพราะเป็นภาพที่ไม่สวยงามดูคล้ายสัปเหร่อ (วิ. มหา. (บาลี) ๔/๒๑๙/๒๙๙) ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาชาดกคำว่า “สัปเหร่อ”หมายถึงผู้มีหน้าที่เผาศพให้ไหม้ คือ คนเฝ้าสุสาน๑ (พระพุทธโฆสะ, ๒๕๓๕ : ๔๐๒) ซึ่งปรากฏ ในกุณาลชาดก   
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕