หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » มนูญ พันนา » การประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี
 
เข้าชม : ๙๕๔๑ ครั้ง

''การประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี''
 
มนูญ พันนา (2556)

 

การประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน

ปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี

The  Evaluation of the Summer Youth Ordination Project

Conducted in the Year 2007 Ubonratchathani Province

 

มนูญ  พันนา

พธ.บ.(การสอนสังคมศึกษา), M.Ed.(บริหารการศึกษา),

M.Phil.(ปรัชญาการศึกษานอกระบบ)

 

บทคัดย่อ

 

            การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน  ปี 2550  ในจังหวัดอุบลราชธานี” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนที่ครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (ปัจจัยนำเข้า)  ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา  ในการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนในจังหวัดอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 278  รูป/คน ประกอบด้วยบุคลากรในโครงการ (หัวหน้าโครงการ/วิทยากรอบรม) จำนวน 200 รูป/คน  และเด็กเยาวชน จำนวน 200 รูป/คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบ  Rating  Scale  3 ระดับ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (Percentage),ค่า  และค่า S.D.  ในการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายข้อมูลเชิงพรรณนา ประกอบตาราง

               ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ ดังนี้

               1.  ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการ ฯ  ในด้านบริบทเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่พบค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ได้แก่  มีการสอบถามความต้องการของกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องทุกส่วนก่อนนำโครงการมาดำเนินการในพื้นที่และโครงการบรรพชาเยาวชนมีเป้าหมายและวัตถุสงค์ของโครงการที่ชัดเจน

               2.  ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า ซึ่งพบมากที่สุด  ได้แก่ สถานที่อบรม มีคนร่มรื่น อากาศดี ที่ตั้งโครงการกว้างขวาง ไม่แออัด ไม่มีเสียงรบกวน, เนื้อหาวิชานำมาอบรมมีความเหมาะสมและประธานส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูล และมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจโครงการฯ  ได้อย่างถูกต้อง

               3.  ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการที่พบว่า มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ การบริหารงานโดยทีมงานของวิทยากรอบรม กระบวนการ/คณะวิทยากรอบรม  มีการร่วมมือประชุมทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลปัญหาความต้องการของชุมชน  และวิทยากรควรมีความรู้ - เข้าใจและมีประสบการณ์ในการอบรมเยาวชนมาก่อน

               4.  ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการฯ  ด้านผลลัพธ์ที่พบว่า มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่  เยาวชนคิดว่า โครงการฯ  มีคุณค่าประโยชน์ด้วยการพัฒนาคุณธรรม-  จริยธรรมของเยาวชนเพิ่มมากขึ้น และเมื่อมีการดำเนินการโครงการฯ ในครั้งต่อไป  เยาวชนบอกว่าจะเข้าร่วมบรรพชาเป็นสามเณรอีก โครงการจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และเมื่อเยาวชนที่เข้าร่วมพิธีกรรมหรือ ศาสนพิธีสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมไม่เก้อเขิน

               5.  ความเหมาะสมของสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ พบว่า ข้อที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ อาคารสถานที่พักสำหรับบุคลากร อาคารสถานที่พักและฝึกอบรมสำหรับเยาวชนควรถวายภัตตาหารเพลและน้ำปานะช่วงเย็น

               6.  ความเหมาะสมของเนื้อหา/หลักสูตรที่นำมาใช้อบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน พบว่า ทุกศูนย์ได้ทำเนื้อหาวิชารวม 6 วิชามาใช้ในการฝึกอบรม ได้แก่ วิชา พุทธศาสนประวัติ วิชาธรรมจริยา  วิชาศาสนพิธี มารยาทไทย/วัฒนธรรมไทย และวิชาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สอบวิชาภาคปฏิบัติที่นำมาฝึกอบรมมากที่สุด ได้แก่ วิชาศาสนพิธี/พิธีกรรม ฝึกมารยาทไทย/วัฒนธรรมไทย ฝึกอบรมวิปัสสนา เดินจงกรม นั่งสมาธิแผ่เมตตาและพิธีทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น ซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมคุณธรรม–จริยธรรมแก่เยาวชน

               7.  แหล่งที่มาของงบประมาณ พบว่า แหล่งบริจาคที่พบมากที่สุด ได้แก่ เงินสนับสนุนจาก อบต. จากมหาวิทยาลัย มจร. จากคนบริจาคทั่วไป และเงินที่เจ้าของโครงการหามาเอง ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ พบว่า อยู่ในระดับเพียงพอมากที่สุด ส่วนที่ไม่เพียงพอและพอดำเนินการได้ 

               8.  ผลการประเมินการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการ พบว่า ทั้ง 13 ศูนย์อบรม  ได้เตรียมการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ไว้ล่วงหน้าเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ เตรียมอัฏฐบริวารบรรพชา ความพร้อมในการติดต่อประสานงาน เตรียมพร้อมด้านค่าใช้จ่าย 

               ส่วนขั้นวางแผนในการดำเนินการ พบว่า ทุกศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของโครงการฯ  ไว้ชัดเจน  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่ายต่าง ๆ  ไว้ชัดเจน มีการเขียนกำหนดการปฏิทินอบรม/ตารางอบรมไว้ชัดเจน และมีการวางแผนแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า ส่วนเทคนิคและวิธีการอบรมเยาวชนที่วิทยากรนำมาใช้ที่พบมากที่สุด  มี 5 แบบ ได้แก่ แบบบรรยาย แบบอภิปรายกลุ่ม แบบแสดงบทบาทสมมุติ แบบทัศนศึกษา แบบผสมผสาน และแบบเล่านิทานประกอบ

               9.  ความเหมาะสมของเทคนิควิธีการอบรม การสื่อ– อุปกรณ์และส่งเสริมเพื่อความขัดเกลาจิตใจของเยาวชน  โดยภาพรวมที่พบมากที่สุด ได้แก่ คู่มือการอบรม หลักสูตรการฝึกอบรมที่พบมากที่สุด ได้แก่ คู่มือการอบรม หลักสูตรการฝึกอบรมโทรทัศน์ และเอกสารประกอบการอบรม  ส่วนที่ใช้มากรองลงมา ได้แก่ รูปภาพพุทธประวัติ คอมพิวเตอร์  วิทยุและภาพวาด ส่วนกิจกรรมเสริมเพื่อใช้ในการอบรมขัดเกลาจิตใจเยาวชนที่พบมาก  ได้แก่ กิจกรรมทำวัตรสวดมนต์  กิจกรรมฝึกระเบียบวินัยกิจกรรมนั่งสมาธิแผ่เมตตา กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์  และกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่กิจกรรมวันสำคัญ  และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

               10.  วิธีการวัดและประเมินผลการอบรมที่นำมาใช้มากที่สุด ได้แก่ วิธีวัดและประเมินด้วยข้อสอบปรนัยและอัตนัย วัดประเมินด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัย และวิธีวัดประเมินผลด้วยวิธีหลากหลาย

 

คำหลัก:  การประเมินผล,  โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, บรรพชาสามเณร

 

Abstract

 

               The  purposes  of this research work were to evaluative study of the  summer youth Ordination project conducted in the year 2007, Ubonratchathani province included with main 4 factors; the surrounding Factors, the Input factors, process factors, and outcome factors, and to study the problem state and obstructers and how to solve the problem faced by the project.  There were 400 samples that used  to data collecting were 200 personals of the project (Chef leaders and trainers) and 200  youths.  The tools used for data analysis were; the Questionnaires, the Interviews, the Rating scale at 3 levels.  The statistic tools used for data analysis were; percentage and mean and  and S.D.

                 The research results were as follows ;

                     1.  The evaluation’s results about the summer youth-Ordination project that  conducted by Ubonratchathani centers. Surrounding  factors.

                     2.  The surrounding  factors’ suitability was seen at most as;  the asking for the  sample’s needs before taking the project place  in the areas,  to design the project’s more specific  and  Clare purposes and objections.

                     3.  The input factor’s suitability was seen at most as;  the project’s location and training places were of pleasure, opened-airs, wider areas and location, in narrowed, disnoisy, and  the subject-matter of suitable information, broadcasting,  and Clare understanding of the  project.

                     4.  The process factor’s suitability was seen at most as; the trainer- administration by team-work, the committees and trainer’s precipitation on meeting  for Clare understanding about the project, to study community’s information and needs,  the  trainers having suitable knowledge, understanding and experiences for the youth  training .

                     5.  The outcome factor’s suitability was seen at most as;  the project  was  valuable and advantages to promote more value and moral development of  the youths,  when the next project will come, they expected to become a novice hood again, they  need the project be continued, while the youth shown their ability to do the ritual and  religions activities  they could practice on right  way with confidence. 

                     6.  The situation and environmental suitability about the project  was seen  at most as; there are a viable the suitable buildings and rooms for the personals resting and for the youths and including the offering the sufficient lunch and  jounce  waters  for  the novice in  the  evening.

                     7.  The curriculum and the subject matters used  to  train  the  youths  were to; the Buddha history, morality, ritual and religions activities, The subjects like Thai  manner and cultures meditation and concentration and the practical subjects that used  to train  the  youth ’s mind.

                     8.  The financial sources were seen at most as; the donation given by Tambol administrative sectors, by MCU.  by  the public and  by the project  owners.

                     9.  The training techniques and methods that used to train the youths  were  seen at most as; training handbooks, training subject matters, t.v. training documents,  and Buddha history facture, computer, documents, radio and painting .

                     10.  The ex-activities that used to train the youth’s mind seen at most as;  play and chanting in the morning and evening, disciplined activity walking for arm foods,  the site seeing in another places, the hold day puchã

                     11.  The evaluative methods used to train the youths as; seen at most as;  the evaluative methods used by the objective and subjective types of Questions, the  both  intelligent  and  mental  measurement and with the varies types of evaluation

 

วิธีการวิจัย

 

               การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจเชิงพรรณนา (Survey & Descriptive Research) ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ประยุกต์ (Social Applied Science) โดยใช้วิธีการประเมินผลการดำเนินการกิจกรรมการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน ปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี ประชากร ได้แก่ เด็กหรือเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรจำนวน            13 โครงการ / ศูนย์อบรม ในจังหวัดอุบลราชธานี เยาวชน 278 รูป/คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีจำเพาะเจาะจง (Purposive Sample) ประกอบด้วยเด็กและเยาวชน  200 รูป/คน หัวหน้าโครงการและพระวิทยากรอบรม จำนวน 200 รูป/คน เป็นตัวแทนประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้

               การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการเก็บจากเอกสาร (Documentary Research) ชนิด ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเอกสารเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานการบรรพชาภาคฤดูร้อนของพระนิสิต และยังได้ค้นคว้าเอกสารรายงานวิจัย เอกสารรายงานประจำปีและหนังสือคู่มือหลักสูตรและประมวลความรู้ของวิชาต่าง ๆ ที่นำมาฝึกอบรม  และการออกเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field works) เป็นการศึกษาเชิงสำรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินค่า 3 ระดับ คือ ระดับมาก ปานกลาง และน้อย    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) และแบบสัมภาษณ์ (Interviews) เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วจะใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและอภิปรายผลความคิดเห็นของผู้ปกครองและเยาวชน/ผู้นำชุมชน และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และ ใช้ค่า (Mean) และค่า S.D. วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนตามองค์ประกอบ 6 ด้าน

 

ผลการวิจัย

 

               1.  ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (เยาวชน) พบว่าอายุของเยาวชน เยาวชนมีอายุช่วง 12-13 ปี มีมากที่สุด (ร้อยละ 50) รองลงมามีอายุช่วง 14-15 ปี (ร้อยละ 38) ส่วนอายุช่วง         11 ปีและ 18 ปี ขึ้นไปมีจำนวนน้อย (ร้อยละ 10.8-12) ตามลำดับเยาวชนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีมากที่สุด (ร้อยละ 50) รองลงมาเป็นเยาวชนที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 28) ที่เหลืออยู่ในระดับประถมศึกษาและสูงกว่ามัธยมศึกษา      ตอนปลาย (ร้อยละ 10.8-28) ตามลำดับบิดามารดาของเยาวชนที่เข้าอบรม: เยาวชนที่มีบิดามารดาอยู่ร่วมกันมากที่สุด (ร้อยละ 66) ส่วนที่มีบิดามารดาแยกทางกัน,บิดามารดาเสียชีวิตและอาศัยอยู่กับญาติ มีระดับน้อย (ร้อยละ 10.8,10.5และ 4.8) ตามลำดับเยาวชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่ตั้งโครงการฯ มีมากที่สุด (ร้อยละ 79) ที่มีน้อยคือ อยู่นอกเขตที่ตั้งโครงการ (ร้อยละ 21.0)เยาวชนได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง มีมากที่สุด (ร้อยละ 77) ส่วนที่ผู้ปกครองไม่สนับสนุนโครงการฯ (ร้อยละ 15) และที่อยู่เฉย ๆ (ร้อยละ8)แหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการฯที่พบมากได้แก่ อบต. (ร้อยละ40) เงินบริจาคของผู้ปกครองเยาวชน และได้รับสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย มจร. (ร้อยละ 10)

               2. ข้อมูลทั่วไปของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง(หัวหน้าโครงการ/วิทยากรอบรม) รวมจำนวน 200 รูปพบว่าอายุ: บุคลากรที่มีอายุช่วง 21 -24 ปีมีมากที่สุด (ร้อยละ 67.5) ที่เหลืออยู่ในช่วงอายุ 18 – 20 ปี ถึง 25-30 ปี และอายุ 30 ปีขึ้นไปมีน้อยที่สุด (ร้อยละ 18.5, 12 และ          1) ตามลำดับพรรษา : บุคลากรที่มีพรรษาช่วง  5-7 ปีมีมากที่สุด (ร้อยละ 67.5) ที่เหลืออยู่ในช่วงพรรษา 8 – 10  และ 10 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 18.5, 11.5  และ 2.5) ตามลำดับ

               วุฒิการศึกษา: บุคลากรที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีมากที่สุด (ร้อยละ41) รองลงมาได้แก่ บุคลากรที่จบปริญญาตรี ระดับ ปวช. (ร้อยละ 25, 20, 15) ส่วนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น ปริญญาโท และสูงกว่าปริญญาโท มีน้อยที่สุด (ร้อยละ 8 และ 2) ตามลำดับ ตำแหน่งทางคณะสงฆ์: บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ผู้สอนศีลธรรมในโรงเรียนผู้ช่วยเจ้าอาวาสมีมากที่สุด (ร้อยละ 31, 29 และ 25) ส่วนที่เหลือเป็นเจ้าคณะอำเภอ(ร้อยละ1)

               การรู้จักมหาวิทยาลัย: บุคลากรเคยรู้จักมหาวิทยาลัย มมจร.มาก่อน และเคยร่วมทำงานกับโครงการฯมาก่อน มีมากที่สุด(ร้อยละ 43.5) ที่เหลือไม่เคยรู้จักมหาวิทยาลัย และไม่เคยทำงานร่วมกับโครงการฯมาก่อน (คิดเป็นร้อยละ 16.54 และ 4) ตามลำดับประสบการณ์ในฐานะเคยเป็นหัวหน้าโครงการฯ : บุคลากรที่ไม่เคยเป็นหัวหน้าโครงการฯ และเคยเป็นหัวหน้าโครงการฯ และเคยเป็นหัวหน้าโครงการฯมาสองครั้งและเคยเป็นหัวหน้าโครงการมามากกว่าสองครั้ง มีมากที่สุด (ร้อยละ 31, 29 และ 21, 18) ตามลำดับประสบการณ์ในฐานะเคยเป็นวิทยากรอบรม: บุคลากรที่ไม่เคยเป็นวิทยากรอบรมมาก่อน และเคยเป็นวิทยากรอบรมมาแล้วหนึ่งครั้ง มีปานกลาง (ร้อยละ 35 และ 19.5) รองลงมา เป็นผู้ที่เคยเป็นวิทยากรอบรมมาแล้วสองครั้ง และมากกว่าสองครั้ง (ร้อยละ 40.5 และ 5) ตามลำดับ

              อภิปรายผลการวิจัย

              จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลการประเมินการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนปี 2550  ในจังหวัดอุบลราชธานี  พอสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายข้อ (จากตารางที่ 4.2 – 4.17) โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้

            1.  ผลการประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในจังหวัดอุบลราชธานี  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือผลด้านการประเมินด้านผลลัพธ์ ( =3.72) รองลงมาคือด้านบริบท ( =3.70) เมื่อพิจาณาโดยภาพรวมพบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมระดับมาก ( = 3.68  และค่า  S.D. = 3.27)

               2.  ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรฤดูร้อน  ในด้านบริบทเป็นรายข้อพบว่า มีการสอบถามความต้องการของกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องทุกส่วนก่อนที่จะนำโครงการมาดำเนินการในพื้นที่ ระดับมากที่สุด ( =3.90 และค่า S.D. = 0.48) โครงการบรรพชาสามเณรมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจน ในระดับมาก ( = 3.80 และค่า S.D. = 0.90) เมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  ( = 3.64  และค่า S.D. = 0.48)

               3. ความเหมาะสมของการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรฤดูร้อน ด้านปัจจัยนำเข้า เป็นรายข้อพบว่า ปัจจัยนำเข้าที่พบมากที่สุด ได้แก่ สถานที่อบรมมีความร่มรื่น อากาศดี  ที่ตั้งโครงการกว้างขวาง ที่เรียนไม่แออัดไม่มีเสียงรบกวน อยู่ในระดับมาก โดยมี  ( = 3.80 และค่า S.D. = 1.01) ส่วนเนื้อหาวิชาการที่ใช้อบรม มีความเหมาะสมในระดับมาก ( =3.90 และค่า S.D. = 1.95) ส่วนองค์ประกอบที่มากรองลงมา ได้แก่  ข้อ 6 ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนได้ส่งผ่านข้อมูลและประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ส่วนข้อ 2, 6 และข้อ 8 มีค่า( = 3.72, 3.70, 3.68 และ3.66  และค่า S.D. = 0.16, 0.02 และ 1.00 ซึ่งอยู่ในระดับมากรองลงมาตามลำดับ  เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก  โดยมีค่า ( = 3.87  และค่า S.D. = 0.82)

               4. ความเหมาะสมของโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  ด้านกระบวนการเป็นรายข้อดังนี้

                  การบริหารงานโดยทีมงานของวิทยากร  มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( = 3.90 และค่า S.D. = 1.95)  คณะกรรมการและคณะวิทยากร  มีการร่วมมือเข้าประชุมทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาความต้องการของชุมชนอยู่ในระดับมาก ( = 3.86 และค่า S.D. = 0.81) คณะวิทยากรอบรม  มีความรู้ –เข้าใจ  และมีประสบการณ์ในการอบรมเยาวชนมาก่อนอยู่ในระดับมาก ( = 3.80 และค่า  S.D. = 0.89)  เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมทุกองค์ประกอบ  พบว่า  อยู่ในระดับมาก  โดยมีค่า ( = 3.75 และค่า S.D. = 0.88)  ใกล้เคียงกัน

              5.  ความเหมาะสมของการประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  ด้านผลลัพธ์ พบว่า โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเยาวชนคิดว่า โครงการมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรม- จริยธรรมของเยาวชนเพิ่มมากขึ้นอยู่ในระดับมาก ( = 3.88 และค่า S.D. = 0.96)  เมื่อมีการดำเนินการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  ในครั้งต่อๆไปเยาวชนจะเข้ามาร่วมบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในระดับมาก ( =3.82 และค่า S.D. = 0.87) และโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จะดำเนินการต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีอยู่ในระดับมาก( =3.78 และค่า S.D. = 0.86) เมื่อมีโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  เยาวชนที่เข้าร่วมพิธีกรรมหรือศาสนพิธี สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม  ไม่เก้อเขินอยู่ในระดับมาก ( = 3.86 และค่า S.D. = 0.81 เมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบโดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ( = 3.72 และค่า S.D. = 0.87) ใกล้เคียงกันเกือบทุกข้อ

            ผลการประเมินโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน

               ผลการประเมินผลโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อนโดยภาพรวมทุกระดับมีความเหมาะสมมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ และด้านบรีบท เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านผลการประเมิน พอสรุปได้ ดังนี้

            ด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในที่เหมาะสม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมาก ๓ อันดับได้แก่ มีการสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก้อนนำโครงการบรรพชามาดำเนินการ โครงการบรรพชาเยาวชนมีความเหมาะสมชัดเจนและมีการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ

            ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากด้านทีมีค่าเฉลี่ยมาก ๓ อันดับ ได้แก่ สถานที่อบรมมีบริเวณกว้างขว้างนักเรียนไม่แออัด ไม่มีเสียงรบกวนในขณะอบรม บุคลากรในชุมชนสังคมเข้าในการดำเนินการโครงการฯ และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการอบรมมีความเหมาะสม

            ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ๓ อันดับ ได้แก่ การบริหารโดยทีมงานของคณะวิทยากรมีความเหมาะสม คณะวิทยากรร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน และการอบรมใช้เทคนิคที่หลากหลายทำให้การฝึกอบรมน่าสนใจมากขึ้น

            ด้านผลลัพธ์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ๓ อันดับได้แก่  เมื่อมีการดำเนินการโครงการฯ อีก นักเรียนเยาวชนคิดว่า จะเข้าร่วมโครงการบรรพชาถ้าโครงการบรรพชาเยาวชนฯ  มีการดำเนินการในปีต่อไปและหลังการอบรมแล้ว  เยาวชนสามารถเป็นคนดีของชาติ เช่น ปฏิบัติตามกฎหมาย

               จากผลการประเมินผลโครงการบรรพชาเยาวชนภาคฤดูร้อน ประจำปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี  โดยภาพรวมทราบว่าอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านบริบท เหตุผลเพราะว่า คณะกรรมการดำเนินการและผู้นำชุมชน พระสังฆาธิการ            มีความสามัคคีกัน การประชุมศึกษาหาหรือร่วมกัน  เพื่อให้การดำเนินการโครงการฯ มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความพร้อมก่อนดำเนินโครงการจึงทำให้ด้านสถานที่สิ่งแวดล้อม  มีความเหมาะสมพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มที่ทุกฝ่ายต่างให้การยอมรับและสนับสนุนการดำเนินการโครงการฯอีกทั้งชุมชนและผู้ปกครองของเยาวชนต่างให้ความสนใจและมีการประสานงานร่วมมือกันระหว่างบ้านวัดและโรงเรียน และโครงการนี้ฯ  นับว่าเป็นกิจกรรมช่วงภาคฤดูร้อนที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงในการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนในชุมชนได้อย่างน่าพอใจ

               ผลการดำเนินงานด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ  มีการเตรียมอุปกรณ์และเทคโนโลยีประกอบการฝึกอบรมในโครงการอย่างเหมาะสมมาก  มีการร่วมกันกำหนดหลักสูตรและรายวิชาในการกำหนดหลักสูตรกำหนดแผนงานขั้นตอนการดำเนินการโครงการและก่อให้เกิดสะดวกคล่องตัวในการดำเนินกิจกรรม  ถ้าอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีและเวชภัณฑ์ไม่เพียงพอผู้นำชุมชนและผู้ปกครองสังฆาธิการและภาคเอกชนจะเป็นผู้ร่วมมือกันสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

               ผลการดำเนินการด้านกระบวนการ พบว่าคณะวิทยากรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันเสนอความคิดเห็นมีการกำหนดขั้นตอนในการอบรมร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินโครงการฯสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและมีการนำข้อมูลความรู้มาปรับปรุงแก้ไขปัญหาและพัฒนากิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนในโอกาสต่อไป

 

ข้อเสนอแนะ

 

            ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

               1.  ด้านศูนย์อบรมเยาวชน/โครงการ ควรจัดหาหรือปลูกสร้างสถานที่พักให้เพียงพอเหมาะสม โดยเน้นความร่มรื่น สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก จัดหาสถานที่พักให้ ให้ไม่ห่างจาก ห้องสุขาน้ำมากเกินไป

               2.  ปัญหาด้านอุปกรณ์- สื่อ อุปกรณ์-การสอนและการอบรมโดยเน้นการผลิตสื่อ-อุปกรณ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดภาพพจน์ที่เป็นรูปธรรม เข้าใจง่ายในเรื่องธรรมะ คำสอนที่เป็นนามธรรม โดยสอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม ควรมีการฝึกอบรมวิทยากรในเรื่องการผลิตสื่อ-อุปกรณ์อบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชน ให้รู้-เข้าใจอย่างถูกต้องเหมาะสม

               3.  ด้านวิทยากรอบรมด้านสมาธิวิปัสสนา ควรจัดหาวิทยากรอบรมที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ในการสอน/อบรมด้านนี้  โดยเฉพาะการสอนวิปัสสนากรรมฐานให้เด็กและเยาวชน  เกิดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติได้อย่างซาบซึ้ง และก่อนโครงการฯนี้จะเริ่ม มจร.ควรเชิญพระนิสิตนักศึกษาที่จะอาสาสมัครเป็นวิทยากรอบรม/ที่รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มก็จะมีคุณค่าประโยชน์มากมาย

               4.  ด้านงบประมาณไม่เพียงพอ งบของมหาวิทยาลัย มจร. หรือองค์กรสงฆ์ ควรสร้างความเข้าใจและทัศนคติอันดีงามถูกต้องรวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์ได้มองเห็นคุณค่า เป็นแนวทางให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของเด็กและเยาวชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

               5.  เด็กและเยาวชน ที่มีจิตใจดีจะเข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาหลักธรรมะทางศาสนาและสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ตนเองเป็นอย่างดี

               6.  เด็กและเยาวชน ต้องการให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนได้เห็นความสำคัญของโครงการนี้ และควรจะให้การสนับสนุนกิจกรรมนี้ตามสมควรอย่างเป็นรูปแบบและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เยาว์วัยให้เป็นเยาวชนที่ดีของชาติในอนาคตของชาติต่อไป

            ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป

               1.  ควรศึกษาวิจัยประเมินผลการดำเนินการโครงการบรรพชาเยาวชนในส่วนที่เป็นปัญหา และมีจุดอ่อนในระดับมาก (จากปัญหาและข้อเสนอแนะของบุคลากรและเยาวชน)

               2.  ควรมีการวิจัยประเมินผลลัพธ์ของโครงการบรรพชาเยาวชน ภาคฤดูร้อนในด้านที่มีคุณค่า ประโยชน์ต่อครอบครัว ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติโดยภาพรวม ซึ่งในประเด็นนี้  ผู้วิจัยในครั้งนี้ ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนทันเวลา เพราะมีข้อจำกัดด้านศักยภาพ  ด้านเวลา และงบประมาน

               3. ควรมีการวิจัยติดตามผลลัพธ์  โดยเฉพาะความรู้-ความเข้าใจ  และประสบกาณ์        ในการฝึกอบรมของวิทยากร  ได้นำเอาเนื้อหาวิชา ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติในการฝึกอบรม  ซึ่งก่อให้เกิดการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมของเยาวชนที่ผ่านการอบรมซึ่งได้ลาสิกขาออกไปแล้ว  ซึ่งมีกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากและในการวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถทำได้  อยากจะให้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสนอเป็นโครงการวิจัยชุดใหญ่ ครอบคลุมทั่วทุกภาค ของประเทศไทย

               4. การศึกษาวิจัยแนวทางการผลิตสื่อและอุปกรณ์ -เทคโนโลยี และแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งเป็นจุดอ่อนในการฝึกอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนให้มีคุณภาพดี จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ในการศึกษาวิจัยการผลิตสื่อ-อุปกรณ์ เทคโนโลยี  ในการถ่ายทอดอบรมเพื่อการส่งเสริมคุณธรรม-จริยธรรม แก่เยาวชนภาคฤดูร้อน  ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 

 

เอกสารอ้างอิง

 

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.  พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ.  2542. 

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต).  ศาสนาและเยาวชน.  โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด, 2539.

ศ.บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์.  กรุงเทพฯ:

               จามจุรี, 2546.

ศ.บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  เทคนิคการสร้างเครื่องมือเกี่ยวกับรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.  กรุงเทพฯ: จามจุรี, พ.ศ.2549.

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕