หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ » การรู้สารสนเทศ เพื่อมาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
เข้าชม : ๓๖๕๔๐ ครั้ง

''การรู้สารสนเทศ เพื่อมาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ''
 
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์

 

   การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา และทุก ๆ ระดับสำหรับ ผู้ที่กำลังศึกษา รวมถึงนักวิจัยค้นคว้า นักวิชาการศึกษา สายงานบริหาร การจัดการ และบุคคล ทั่วไป  ศาสตร์ความรู้ทุก ๆ ด้านย่อมต้องอาศัยมาตรฐานทางวิชาการ เพื่อผลงานการศึกษาค้น คว้าที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับนับถือกันอย่างทั่วหน้า

   รศ.ดร.ฉลอง ทับศรี มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศ “ ไว้ว่า มี ลักษณะความสามารถในการเข้าถึงผู้ใช้อย่างทันที ได้ทุกที่ ได้ทุกคน เทคโนโลยีสารสนเทศโดย ตัวมันเองมีสมรรถภาพสูง ประโยชน์หรือโทษที่เกิดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน โรงเรียนและระบบ การศึกษาไทย น่าจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลในการใช้สื่อมหัศจรรย์นี้ การสร้างประโยชน์และ ป้องกันไม่ให้โทษขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝาย ที่จะต้องวางแผน จักการใช้ประโยชน์มันให้ได้
 
   ประโยชน์ของสารสนเทศมีมหาศาล แต่จะมีประโยชน์ หรือให้โทษ
ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานสื่อมหัศจรรย์นี้ ข้อดี คือ สมรรถภาพที่สูง รวดเร็วทันใจ ใช้งานไม่ยาก ไม่ กำหนดเวลา สถานที่ และบุคคลผู้ใช้งาน ด้วยข้อดีที่หลากหลายจึงมีผู้ที่นิยมใช้งานเป็นจำนวน มาก

   รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงความ สำคัญของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในงานวิจัยเรื่อง  Information  Literacy  Skills  of University Students in Thailand คือ การส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาในการเรียนรู้ การ แสวงหาความรู้ เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดย เฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ เป็นทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การ มีทักษะการรู้สารสนเทศ จึงเป็นเสมือนผู้มีปัญญา มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหาเฉพาะ หน้าได้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศของผู้เรียนแต่ละระดับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐาน โดยทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะในการระบุความต้อง การ ค้นหา วิเคราะห์และใช้สารสนเทศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและการตัดสินใจ เป็น ทักษะสำคัญในการรู้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

   สารสนเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ ได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาทุก ๆ ระดับการศึกษา สามารถเข้าถึงได้จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นแหล่งค้นคว้าส่วนตัว หรือส่วนรวม ห้องสมุดได้เปิดบริการให้ผู้สนใจใคร่รู้ทุกคนใช้งานได้ ที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยได้รวบรวมสารสนเทศชนิดและประเภทต่าง ๆ อย่าง มาก และหลากหลายวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทำให้แหล่งสารสนเทศต่าง ๆ นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร จัดการเพื่อการเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้โดยการ เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก จึงกลายเป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุด มนุษย์ใช้งานมาก ที่สุดและให้ความสำคัญที่สุดในโลก ณ ปัจจุบันนี้

   มาตรฐานและทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา นานาประเทศได้ ให้ความสำคัญ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้เขียนค้นคว้างาน วิชาการในการเขียนงานวิจัย ได้พบเอกสารเป็นงานวิชาการทางการวิจัย ทั้งของประเทศสหรัฐ อเมริกา  ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีการกำหนดมาตรฐานการรู้ สารสนเทศระดับอุดมศึกษากันแล้ว แต่ผู้เขียนยังไม่พบการกำหนดมาตรฐานและทักษะการรู้ สารสนเทศของประเทศไทย ผู้อ่านลองศึกษาอย่างไตร่ตรอง และพิจารณาตามไป ของแต่ละประเทศ มีดังนี้

มาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษาของประเทศสหรัฐ อเมริกา
   Association of College and Research Library  ,  (ACRL) เมื่อปี ค.ศ.  ๒๐๐๐ สมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและการวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศของ การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
   มาตรฐานที่ ๑ นักศึกษาสามารถกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการ ได้อย่างชัดเจน
   มาตรฐานที่ ๒ นักศึกษาสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
   มาตรฐานที่ ๓ นักศึกษาสามารถประเมินสารสนเทศและแหล่งที่ผลิตสารสนเทศได้อย่าง มีวิจารณญาณ รวมทั้งสามารถบูรณาการสารสนเทศที่คัดเลือกแล้วเข้ากับระบบฐานความรู้และ ค่านิยมของตนเองได้
   มาตรฐานที่ ๔ นักศึกษาในฐานะบุคลากรและสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ สามารถใช้ สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
   มาตรฐานที่ ๕ นักศึกษามีความเข้าใจในประเด็นด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่ แวดล้อมสารสนเทศรวมทั้งผลที่เกิดจาการใช้การเข้าถึงสารสนเทศอย่างถูกต้องทั้งทางจริยธรรมและ กฎหมาย
   มาตรฐานที่กำหนดไว้จะมีดัชนีชี้วัดการดำเนินงาน และดัชนีผลลัพธ์ที่ตามมา หากนัก ศึกษาสนใจ ผู้เขียนขอแนะนำให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติมที่ [http://www.ala.org/informationliteracycompetency.cfm]
 
มาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ
   Society of College, National and University Libraries,  (SCONUL) ตั้งอยู่ใน ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนารูปแบบของการรู้สารสนเทศขึ้นมาแทนการกำหนดมาตรฐาน ดังเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการกำหนดเป็นโมเดล เรียกว่า Seven Pillars of Information Literacy กำหนดทักษะไว้ ๗ ด้าน คือ
   ๑.  ความสามารถในการตระหนักว่าตนเองต้องการสารสนเทศ
   ๒.  ความสามารถในการแสดงให้เห็นความแตกต่างของวิธีการระบุช่องว่างทาง สารสนเทศ
   ๓.  ความสามารถในการสร้างกลยุทธ์ในการกำหนดแหล่งที่เก็บสารสนเทศ
   ๔.  ความสามารถในการกำหนดที่เก็บและเข้าถึงสารสนเทศ
   ๕.  ความสามารถในการเปรียบเทียบและประเมินสารสนเทศที่ได้รับจากแหล่ง สารสนเทศต่าง ๆ
   ๖.  ความสามารถในการจัดการ ประยุกต์ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับผู้อื่นอย่างเหมาะ สมในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
   ๗. ความสามารถในการสังเคราะห์ และพัฒนาสารสนเทศที่มีอยู่ ไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้

มาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษาของประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
   Council of Australian University Librarian, (CAUL) คณะกรรมการบรรณารักษ์ อุดมศึกษาประเทศออสเตรเลีย ได้นำมาตรฐาน ACRL ไปประยุกต์ใช้ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ โดยมีการ เปลี่ยนแปลงจากคำว่านักศึกษา เป็นคำว่า บุคคลทั่วไป รวมถึง ผู้ใช้ทั่วไปไม่จัด และได้เพิ่มมาตรฐาน ที่ ๗ ขึ้นในฉบับที่หนึ่ง คือ มาตรฐานที่กำหนดว่า “ผู้รู้สารสนเทศ ตระหนักดีว่า การเรียนรู้ตลอด ชีวิต  และการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นพลเมืองนั้น ต้องมีทักษะการรู้สารสนเทศ” ส่วนในฉบับที่ สอง เผยแพร่ในปี ค.ศ.  ๒๐๐๔ ได้ยกเลิกมาตรฐานข้อนี้ และเปลี่ยนชื่อจากคำว่า มาตรฐาน มาเป็นกรอบโครงสร้าง โดยการกำหนดว่า บุคคลผู้รู้สารสนเทศ ควรมีลักษณะ ดังนี้
   ๑.  สามารถตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศรวมทั้งสามารถกำหนดลักษณะและ ขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้
   ๒.  สามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
   ๓.  สามารถประเมินผลเชิงวิเคราะห์กับสารสนเทศและกระบวนการค้นหาสารสนเทศ ที่ต้องการได้
   ๔.  สามารถจัดการกับสารสนเทศทั้งที่ค้นหามาได้ หรือที่สร้างขึ้นใหม่
   ๕.  สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเดิมที่มีอยู่เข้ากับสารสนเทศใหม่ เพื่อสร้างแนวความ คิดใหม่ หรือสร้างความเข้าใจใหม่ได้
   ๖.  สามารถใช้สารสนเทศด้วยความเข้าใจและยอมรับในประเด็นทางวัฒนธรรม จริยธรรม เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่แวดล้อมขณะใช้สารสนเทศนั้น ๆ ได้
   มาตรฐานการรู้สารสนเทศของประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีสาระที่น่าสนใจ อย่างยิ่ง หากนักศึกษาสนใจ ผู้เขียนขอแนะนำ ให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติมที่[http://www.anziil.org]
   สรุปได้ว่า สหรัฐอเมริกา มี ๕ มาตรฐาน ที่สำคัญมาก ๆ คือ มีความสามารถที่จะกำหนด ลักษณะขอบเขต การเข้าถึง ประเมิน บูรณาการใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เข้าใจเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่แวดล้อมสารสนเทศรวมทั้งผลที่เกิด จากการใช้การเข้าถึงสารสนเทศอย่างถูกต้องทั้งทางจริยธรรมและกฎหมาย ส่วนอังกฤษกำหนดทักษะ ๗ ด้าน คือ การตระหนัก เห็นความแตกต่าง สร้างกลยุทธ์ในการกำหนดแหล่งที่เก็บสารสนเทศ กำหนดที่เก็บและเข้าถึง เปรียบเทียบและประเมิน การจัดการ ประยุกต์ และแลกเปลี่ยน การสังเคราะห์ และพัฒนาสารสนเทศที่มีอยู่ ไปสู่การสร้างองคความรู้ใหม่ได้ ส่วนออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กำหนดว่า บุคคลผู้รู้สารสนเทศ ควร ตระหนัก กำหนด ขอบเขต ค้นหาสารสนเทศ ที่ต้องการได้ ประเมินผลเชิงวิเคราะห์ จัดการกับสารสนเทศทั้งที่ค้นหามาได้ หรือที่สร้างขึ้นใหม่ ประยุกต์ใช้ สร้างแนวความคิดใหม่ หรือสร้างความเข้าใจใหม่ได้ ใช้สารสนเทศ และยอมรับประเด็น ทางวัฒนธรรม จริยธรรม เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่แวดล้อมขณะใช้สารสนเทศนั้น ๆ ได้
   ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาในทุก ๆ ระบบ และทุก ๆ ระดับ แต่นักการศึกษาทั้งหลายควรสร้างมาตรฐาน “ การรู้สารสนเทศ...เพื่อมาตรฐานการเรียน รู้อย่างมีประสิทธิภาพ “ ให้นักศึกษาทุกคนของประเทศไทยยึดถือปฏิบัติ เพื่อการเรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

 


 

(ที่มา: สารนิพนธ์)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕