หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองดี นิปโก (สุราทิพย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองดี นิปโก (สุราทิพย์) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ., ป.ธ.๗,พธ.บ., ศศ.ม., ร.ป.ม.,(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง การบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร  โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนต่อการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนต่อการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค โดยการใช้พรหมวิหาร ๔ และ(๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค ตามหลัก      พรหมวิหาร ๔ และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของบุคลากรเจ้าหน้าที่ต่อไป

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรเจ้าหน้าที่ และประชาชนของสถานสงเคราะห์บ้านบางแคจากทุกฝ่าย/กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น         ๒๓๕ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้        คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test)         ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณี ตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

ผลการวิจัยพบว่า

                  ๑. การบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = .๖๘) และเมื่อพิจารณา       ในแต่ละด้าน พบว่าบุคลากรเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้มารับบริการของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค มีการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค   กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ มีการบริหารงาน ตามหลักพรหมวิหาร ๔ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

              ๒. การเปรียบเทียบการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ และสถานภาพ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้การบริหารงาน ของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ และสถานภาพ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ที่มีผลต่อการบริหารงาน ได้แก่  ในบางครั้งคนที่เข้ามาใช้บริการรับการสงเคราะห์ในบ้านบางแค มาจากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน นิสัยใจคอ ความประพฤติปฏิบัติ ระเบียบแบบแผนไม่เหมือนกัน เมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในบางครั้ง ขาดบุคลากรที่จะช่วยดูแล รักษาพยาบาลที่เชี่ยวชาญ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีบ้างปัญหาสุขภาพ มีความเจ็บไข้ได้ป่วยโดยตลอด และยังขาดแพทย์  และพยาบาลที่ปฏิบัติงานประจำ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการให้บริการ เนื่องจากบ้านบางแค      มีผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน และบุคลากรเจ้าหน้าที่ก็มีจำนวนจำกัด        ย่อมมีปัญหาขัดแย้ง และควรสนับสนุนการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรเจ้าหน้าที่ ให้มากกว่านี้

              ดังนั้น ผู้บริหารควรเน้นการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม โดยการนำหลัก       พรหมวิหาร..มาประยุกต์ใช้กับบุคลากรเจ้าหน้าที่ของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค             ให้มีจริยธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแค      ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีการจัดให้มีการอบรมชี้แนะในหน้าที่ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความรู้ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่ดำเนินงานอยู่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อผู้สูงอายุ         สร้างความรัก ความปรารถนาดีต่อบุคลากรเจ้าหน้าที่ สร้างความรู้สึกสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการให้บุคลากรเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสให้บริการ และดูแลผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียมกัน      เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานของสถานสงเคราะห์บ้านบางแคต่อไป

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕