หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมหมายปวโร (ติตะปัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๐ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก: กรณีศึกษาชูชกกัณฑ์ในคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม
ชื่อผู้วิจัย : พระสมหมายปวโร (ติตะปัน) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโสภณธรรมาภิมณฑ์, ป.ธ.๔พธ.บ. M.A., Ph.D.(Ling)
  ผศ.ดร. สรเชตวรคามวิชัย, ป.ธ. ๙ ศน.บ. M.A. Ph.D. (History)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  

                   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  แนวความคิดเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  กัณฑ์ชูชก  ใบลานอักษรขอม  การศึกษาวิเคราะห์ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก :กรณีศึกษาชูชกกัณฑ์ในคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา  ตำรา  เอกสารทางวิชาการ  และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผลการวิจัยพบว่า

                   ๑. ประวัติของชูชก ที่ปรากฏในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอม  พบว่าใบลานฉบับวัดบ้านแขว  ตำบลห้วยใต้  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  ศึกษาความเป็นมาของวรรณกรรม  กำเนิดวรรณกรรม การพัฒนาการของวรรณกรรมสมัยที่แต่ง  วรรณกรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ชูชก  ฉบับภาษาเขมรที่นำมาศึกษานี้ไม่ปรากฏสมัยที่แต่ง  หลักฐานที่ว่า  มหาเวสสันดรชาดกของประเทศกัมพูชาเป็นงานพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระหริรักษ์รามา(พระองค์ด้วง)  ซึ่งพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. ๒๓๓๙  และทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ นั้นจริงตามที่  ลี ธามเตง  กล่าวไว้  และเป็นผู้จารในปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ ภาษาที่ใช้แต่ง วรรณกรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  กัณฑ์ชูชก  ฉบับอักษรขอม               ที่นำมาศึกษาในครั้งนี้  ใช้ตัวอักษรขอมจารลงบนใบลาน  ไทยเรียกตัวอักษรชนิดนี้ว่า  อักษรบรรจง  เขมรเรียกว่าอักษรมูล

                     ๒.บุคลิกลักษณะ  และคุณสมบัติของชูชกในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอมชูชก   เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อทุนนวิฏฐะ  ในกาลิงครัฐ  มีบิดานามว่าโตลกพราหมณ์   มารดานามว่า  นางจันทีพราหมณี   เมื่อบิดา  มารดาตายหมดแล้วจึงค่อยได้ดี  อาศัยอยู่กับลุงป้า  ที่หมู่บ้านทุนนวิฏฐ ได้นางอมิตตาเป็นภรรยา  บุคลิกภายนอกของชูชก  หมายถึง กิริยามารยาทของงชูชกที่แสดงออกกวีพรรณนาถึงรูปร่างลักษณะของชูชกไว้เพียงสั้น ๆ ว่าชูชกนั้นเป็นพราหมณ์บุรุษโทษ  ๑๘  ประการ  คือ๑)พลงฺกปาโท  มีเท้าคดคู้ หรือตีนเกตีนกาง  ๒)อทฺธนโข  มีเล็บเน่าครึ่งเล็บเป็นต้นกล่าวถึงรูปร่างชูชกว่า  เป็นเฒ่าชรามีลักษณะบุรุษโทษแล้ว  อีกทั้งยังมีความพิกลพิการ  น่าเกียจน่ากลัว  น่าขยะแขยงและน่าสมเพช  พฤติกรรมภายนอก  หมายถึง  การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะ  การพูดจา  และความคิดอ่านผู้แต่งได้แต้มเติมให้บุคลิกชูชกมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปที่เคยเห็นเคยอ่านในกัณฑ์ชูชก  เช่น  มีลักษณะเป็นคนเจ้าชู้  เจ้าปัญญา  โอ้อวดขี้คุยและตลกขบขัน

                      ๓.วิเคราะห์คุณค่าในแง่มุมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอม ชูชก  การศึกษาใบลานมหาเวสสันดร  กัณฑ์ชูชกอักษรขอมฉบับวัดคัมภีร์บ้านแขว  ตำบลห้วยใต้  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  วิเคราะห์ในแง่ของหลักธรรม  การปกครอง  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การศึกษา  วัฒนธรรมประเพณี   และค่านิยมที่มีในยุค  พุทธศักราช  ๒๔๖๒ ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นอย่างเรียบง่าย  มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน  เอื้อเฟื้อแผ่  ช่วยเหลือในยามทุกข์ยากลำบากไม่เห็นแก่ตัว  มีอาชีพการทำเกษตรกรรม  ตามเศรษฐกิจที่พอเพียง  อาชีพที่ได้รับความนิยมมาก  ก็คือการได้เข้ารับราชการอยู่ในวัง  การแต่งกายก็ยัง  นุ่งผ้าถุงโจงกระเบน  เครื่องประทินโฉมความงามก็อาศัยธรรมชาติ  เช่น  ขมิ้น  เป็นต้น  คติความเชื่อไสยศาสตร์  โหราศาสตร์  เชื่อฤกษ์ยาม  เชื่อหลักการทางศาสนาพุทธ  คือบาป  บุญ  คุณโทษ  มีความละอายชั่ว  กลัวบาป มีความกตัญญูกตเวที เคารพในพระพุทธศาสนาอย่างสูง

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕