หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเอกพร เอกวโร (เอียดจุ้ย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ชื่อผู้วิจัย : พระเอกพร เอกวโร (เอียดจุ้ย) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม พธ.บ. M.Ed., M.Phil., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ., M.A., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                       ศึกษาเรื่อง ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๑)  เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ๒)  เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรังที่มีปัจจัยพื้นฐานทางบุคคลแตกต่างกัน ๓)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๒๔๘ คน โดยสุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and  Morgan และทำการสุ่มตามลำดับชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ โดยใช้ค่าเฉลี่ยด้วย t-Test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova)

 

 

 

 

 

 

 

                       ผลการศึกษาพบว่า

                       ๑)  ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การบริหารงานวิชาการในด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการวัดผลประเมินผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านหลักสูตร และด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนการบริหารงานวิชาการในด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด     

                       ๒)  การเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของผู้บริหารและครู ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน ซึ่งผลการเปรียบเทียบพบว่า ผู้บริหารและครูมี เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕และ ๐.๐๑ ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ว่าผู้บริหารและครูมี เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครูที่มีวุฒิการศึกษาและตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงกับสมมติฐานที่ว่าผู้บริหารและครูที่มีวุฒิการศึกษาและตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกัน

 

                       ข้อเสนอแนะ

                       การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งผู้บริหารควรมีการจัดครูสอนให้ตรงกับความรู้ความสามารถเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพด้านความรู้ความสามารถทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน เพราะเป็นเรื่องสำคัญถือเป็นพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อการเรียนในชั้นสูงต่อไป อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรจัดระบบการสื่อสารให้มีความชัดเจนเพื่อสะดวกต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารควรประชุม ชี้แนะ ปฏิบัติ ประเมิน ให้เป็นขั้นตอนตามระยะเวลาที่กำหนดมีการวางแผน ให้ครูผู้สอนเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน จะได้ปฏิบัติตามแผนความรู้แบบเดียวกัน ผู้บริหารควรจัดสรรหาสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้โรงเรียนช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕