หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเจริญพงษ์ ธมฺมทีโป (วิชัย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระเจริญพงษ์ ธมฺมทีโป (วิชัย) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ. ดร. สมชัย ศรีนอก พธ.บ., พธ.ม., พธ.ด.
  ผศ. ดร. ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ., M.Ed., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ (๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ (๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๒๔๙ คน เมื่อเปรียบเทียบกับตารางของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๕๐ คน       ตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแปรตาม ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ด้านทุกข์ ด้านสมุทัย ด้านนิโรธ และด้านมรรค เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ ๐.๙๔ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิเคราะห์เนื้อหา

 

 

                ผลการวิจัย พบว่า

                ๑.  จากการศึกษา พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทุกข์ (การมีส่วนร่วมศึกษาสภาพปัญหา) กับด้านมรรค (การมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการศึกษา) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสมุทัย     (การมีส่วนร่วมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา) กับด้านนิโรธ (การมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการศึกษา) อยู่ในระดับปานกลาง

                ๒.  การเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่างกัน มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอายุ ต่างกัน มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ไม่แตกต่างกัน

                ๓.  ปัญหาอุปสรรคในการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เข้าร่วมประชุมไม่ครบ ไม่ชอบการเข้าร่วมประชุม ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในปัจจุบัน ตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา ขาดความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการศึกษา ขาดการฟังเหตุผล มีความเห็นแตกต่างในแนวทางการแก้ปัญหา ถือความคิดตนเป็นใหญ่ไม่ยึดถือมติที่ประชุม

                ๔.  ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอริยสัจ ๔ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ควรมีการสำรวจปัญหาของท้องถิ่น และปัญหาของสถานศึกษา นำเสนอที่ประชุมปรึกษาสภาพปัญหา แล้วนำมาวิเคราะห์หาแนวทาง กำหนดแนวทาง และจุดประสงค์การจัดการศึกษาร่วมกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ตระหนักเห็นความสำคัญของการศึกษา สถานศึกษาควรกำหนดกรอบบทบาทหน้าที่ และชี้แจงแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และควรมีการจัดอบรมชี้แจงให้ความรู้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับทราบบทบาทหน้าที่ของตน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕