หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระรณชัย อคฺคเตโช (พิลึก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
ศึกษาการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระรณชัย อคฺคเตโช (พิลึก) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร.ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.บ., อ.ม., กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ., ศศ.ม.,ปร.ด. (การบริหารอุดมศึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒  จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์  โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูผู้สอนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์จำนวน ๒๔๒ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๘๓ มีกลุ่มอายุ ๔๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๒ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี จำนวน ๑๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๕๐ อายุราชการ มากกว่า ๑๕ ปี จำนวน ๑๘๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๖๙ ขนาดโรงเรียน ขนาดใหญ่  น.ร. ๘๐๑ คน ขึ้นไป จำนวน ๒๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๓๒ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = .๐๕) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน   โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (  = .๑๐) ในด้านสมานัตตตา (  = .๐๙) ในด้านอัตถจริยา           (  = .๐๗) ในด้านปิยวาจา และ (  = .๐๗) ในด้านทานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่า ครูผู้สอนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการใช้คุณธรรมด้านสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ สำหรับในด้าน เพศ อายุ วุฒิการศึกษาและอายุราชการ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ คือการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานกับครูผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์นั้น ผู้บริหารควรใส่ใจในการบริหารงานในด้านต่างๆอย่างเต็มที่และคอยติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งให้คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือกับครูผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานศึกษา มีความสะดวกรวดเร็วในการบริหารงาน ใช้วาจาที่น้ำเสียงสุภาพอ่อนโยน ไม่แสดงอารมณ์และท่าทางที่ไม่เหมาะสม มีความกระตือรือร้นในการบริหารหน่วยงานของตน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อและเสียสละเพื่อการบริหารงานที่ดี ตลอดจนวางตนเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติ ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย พร้อมทั้งยอมรับฟังปัญหาและปรับปรุงแก้ไขในหน่วยงานสถานศึกษาให้ดียิ่งขึ้นอย่างเต็มความสามารถ อีกทั้งเพื่อให้ครูผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเข้าใจและพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาได้ดียิ่งขึ้นไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕