หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุพรรณา สุภโต (จาต)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่อง เสรีภาพของฌอง-ปอล ซาร์ตร์กับของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุพรรณา สุภโต (จาต) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร.ป.ธ.3,พธ.บ.,พธ.ม.,(ปรัชญา),Ph.D.(Philosophy)
  ดร.วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ.6,พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง),ศษ.บ.,M.A. M.Phil.,Ph.D.
  ผศ.รังษี สุทนต์ป.ธ.9,พธ.ม.,(พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มี ๓ จุดประสงค์เพื่อศึกษา  คือ  (๑) แนวความคิดเรื่องเสรีภาพในปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ตร์  (๒) แนวความคิดเรื่องเสรีภาพในพุทธปรัชญาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)  และ (๓) เปรียบเทียบแนวคิดเสรีภาพของฌอง-ปอล ซาร์ตร์ กับของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก อรรถกถา  สำรวจข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                         จากการวิจัยพบว่า ของฌอง-ปอล ซาร์ตร์  เห็นว่า มนุษย์ คือ เสรีภาพ ความเป็นจริงของโลกขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการแปลความหมายของบุคคลแต่ละคน  เมื่อมนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกและเป็นการเลือกของตนเอง  มนุษย์จึงต้องมีความรับผิดชอบทั้งตนเองและผู้อื่นหรือมนุษยชาติด้วย 

          แนวคิดเสรีภาพของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.  ปยุตฺโต) มีหลักว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้และสามารถจะเปลี่ยนแปลงตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนได้ ถ้าได้รับการศึกษาและพัฒนาที่ถูกต้อง  ดังนั้น  การบรรลุเสรีภาพในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทจึงต้องประกอบไปด้วยการฝึกฝนอบรมศีล สมาธิ และปัญญาอย่างสอดคล้องกัน

        แนวคิดต่อหลักเสรีภาพของทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น มุ่งให้มนุษยชาติดำเนินชีวิตอย่างมีเสรีภาพ ไม่หวังพึ่งพาเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติใดๆ มนุษย์ต้องพึ่งกรรมหรือการกระทำ ที่ตนเองตัดสินใจ ตั้งใจ เลือก และลงมือกระทำ หมายความว่า ทั้งพุทธปรัชญา และปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ตร์ ได้แสดงให้เห็นว่า โลก และชีวิตของมนุษย์  คือ สิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข หลักคำสอนเกี่ยวกับเสรีภาพในแนวคิดของทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็มุ่งให้ผู้ปฏิบัติบรรลุเป้าหมายสำคัญทางเสรีภาพ คือ ความเป็นอิสระ เป็นอยู่ ตัดสินใจ และรับผิดชอบต่อกรรมที่ตนกระทำเต็มที่ เพราะโลกและสังคมจะสุข จะทุกข์ขึ้นอยู่กับการใช้เสรีภาพของมนุษย์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕