หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาศุภโชค มณิโชติ (มณีโชติ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้าจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาศุภโชค มณิโชติ (มณีโชติ) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุพรต บุญอ่อน ศษ.บ., กศ.ม., Ph.D
  พระอมรเมธี, ดร. พธ.บ., กศ.ม. Ph.D.
  พระโสภณวราภรณ์, ดร. พธ.บ., กศ.ม. Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                    การศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์นี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอ   ตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์  (๒) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์  (๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริส     ธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระภิกษุ ในอำเภอตากฟ้า จำนวน ๕๙๕ รูป  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบงาย (simple random sandom) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๙๔ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที  (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ (Least Significant Difference : LSD)  โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

 

                   ผลการศึกษา  พบว่า

      ๑. พระภิกษุมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาส         ในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่      ละด้าน พบว่า พระภิกษุมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอ   ตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ด้านกาลัญญุตาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆอยู่ในระดับมากที่สุด

                       

                   ๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นพระภิกษุต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ พรรษา ตำแหน่งพระสังฆาธิการ  วุฒิการศึกษาสายสามัญ  วุฒิการศึกษาแผนกธรรม  วุฒิการศึกษาแผนกบาลี และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่พระสังฆาธิการ ที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า  พระภิกษุมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์  ด้านอายุ พรรษา ตำแหน่งพระสังฆาธิการ  วุฒิการศึกษาสายสามัญ  วุฒิการศึกษาแผนกธรรม  วุฒิการศึกษาแผนกบาลี และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่พระสังฆาธิการ  ไม่แตกต่างกัน  โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  

๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (๑) พระสังฆาธิการบางรูปไม่มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน  (๒) พระสังฆาธิการบางครั้งเชื่อมั่นในการทำงานของตนเองสูงเมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้วทำให้งานเกิดความเสียหายและเสียเวลาแก้ไข เพราะไม่ยึดหลักการ (๓) พระสังฆาธิการยังขาดเหตุผลในการปฏิบัติงาน  ยึดติดอยู่กับรูปแบบเดิมในการบริหารงาน ถือสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้ว และไม่ค่อยแก้ไขหรือพัฒนาตนเอง ทำให้งานของพุทธศาสนาไม่เดินหน้า

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕