หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธีรญาณ ญาณสุจิ (เถาทิพย์เดชปุญญา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การบริหารสถานีวิทยุชุมชน อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระธีรญาณ ญาณสุจิ (เถาทิพย์เดชปุญญา) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ. ดร. สมาน งามสนิท B.A., M.A.,Ph.D, (Pub, Admin. )
  อาจารย์ ดร. ธนวัฒน์ อัมพุนันท์ B. Eng. mppm. D. P. A.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวิทยุชุมชน อำเภอประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี  (๒) เพื่อศึกษารูปแบบนโยบายการจัดตั้งวิทยุชุมชนอำเภอประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี  ๓) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารของวิทยุชุมชน อำเภอประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี ๔) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการบริหารวิทยุชุมชน อำเภอประจันตคาม          วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) คือ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยว ข้อง (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างตัวชี้วัด ๑) การวางแผนการใช้สื่อวิทยุชุมชน ๒) ความเหมาะสมของบุคลากรที่ทำหน้าที่ผู้บริหารและดำเนินรายการวิทยุชุมชนในปัจจุบัน ๓) การสั่งการและการกำกับดูแลวิทยุชุมชน โดยหน่วยงานของรัฐบาล ๔) การประสานงานระหว่างวิทยุชุมชนแต่ละแห่ง ๕) การรายงานการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ๖) งบประมาณในการจัดตั้งวิทยุชุมชน และ ๗) การบริหารการจัดการสื่อสถานีวิทยุชมชน

 

ผลการวิจัยพบว่า

          ผลการวิจัยพบว่า วิทยุชุมชนตั้งขึ้นตั้งแต่ปลายพุทธศักราช ๒๕๔๓ ตามมาตรา ๔๐ แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่กำหนดไว้ว่าคลื่นความถี่ไม่ควรมีการผูกขาดประชาชนควรเข้าถึงสื่อและชุมชนสามารถเป็นเจ้าของได้ เพื่อประโยชน์ของชุมชนและของชาติโดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารกิจการสื่อด้านนี้เป็นการเฉพาะ ส่วนการบริหารสถานีนั้น เนื่องจากว่า ในระยะเวลาที่เรื่องนี้ นโยบายวิทยุชุมชนยังมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมอยู่ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกรอบการบริหารตามหลัก POSDCoRB คือการวางแผน การจัดองค์กรการจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน การรายงานและการจัดงบประมาณ เป็นแนวทางวิจัย และพบว่า สถานีวิทยุชุมชนมีการบริหารตามแนวทางของ  POSDCoRB และที่เพิ่มเข้ามาคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหลายกิจกรรม สมกับเป็นวิทยุชมชนเพื่อชุมชน การบริหารแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม ช่วยให้มีบทบาท ส่วนข้อเสนอแนะคือ อยากจะให้ผู้รับฟังและและประชาชนทุกคนเข้ามาให้ความสำคัญต่อสาธารณะ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕