หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวจารุวรรณ บัวทุม
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวจารุวรรณ บัวทุม ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี,ผศ.ดร ป.ธ.๙, กศ.ม., พธ.ด., (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ., ศศ.ม., ปร.ด.,(บริหารอุดมศึกษา)
  ผศ.อานนท์ เมธีวรฉัตร พธ.บ.,ศษ.บ., กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร

             การวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร จำนวน ๓๙๘ คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental  Sampling) ด้วยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ โดยการทดสอบสมมติฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยมีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

ผลจากการวิจัยพบว่า

             การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีภูมิคุ้มกัน ด้านความมีเหตุผล ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

             ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร

             โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล สรุปได้ว่า เกษตรกรที่มีเพศต่างกันและมี อายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตรโดยรวมแตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัยส่วนเกษตรกรที่มี  ระดับการศึกษาแตกต่างกันและที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

 

ผลการศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร พบว่า ปัญหา ๑.การทำการเกษตรเกษตรกรยังใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ   เพิ่มสูง พืชผลทางการเกษตรราคาต่ำไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้สินไม่สามารถฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรได้ และปัจจุบันเกษตรกรยังยึดติดกับเครื่องมือสมัยใหม่ในการทำการเกษตรทำให้มีต้นทุนในการประกอบอาชีพสูง  ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยรณรงค์ปลูกฝังให้เกษตรกรรู้จักการพึ่งพาตนเองให้ได้ในระดับหนึ่ง รู้จักประหยัดอดออมและรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน และหน่วยงานควรกำกับดูแลเกษตรกรเกี่ยวกับการฟื้นฟูอาชีพอย่างใกล้ชิดโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ๒.เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพืชทางเกษตรชนิดเดียวกันทำให้พืชผลทางการเกษตรล้นตลาด   ราคาตกต่ำ  หน่วยงานต้องจัดหาทุนให้เกษตรกรกรณีที่สำนักงานเห็นว่าเป็นพืชผลทางเศรษฐกิจจนกว่าจะได้ขายผลผลิตและจัดหาตลาดรองรับผลผลิตการเกษตรให้เกษตรกร ๓.เกษตรกรส่วนมากจะเน้นการผลิตเพื่อการค้ามากกว่าใช้เอง  ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตในสิ่งที่ต้องบริโภคใช้สอยในครัวเรือนหรือในชุมชน หรือการบริโภคในสิ่งที่ชุมชนผลิตได้เอง ไม่ต้องซื้อหามาจากภายนอกเป็นหลัก ๔)เกษตรกรบางส่วนไม่พร้อม ที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนั้นหน่วยงานต้องจัดทำโครงการหรือจัดตั้งคณะเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ความรู้เกษตรกร     เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ ๕) เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน  จึงเป็นเหตุให้ต่างคนต่างทำมาหากิน  เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีและเกื้อกูลกันในชุมชน/องค์กร ส่งเสริมให้มีโครงการที่ได้ร่วมมือร่วมแรงกันทำในชุมชน/องค์กร ให้เกษตรกรตระหนักถึงความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพและให้มีความอดทน ความพากเพียรและประกอบอาชีพด้วยความตั้งใจจึงจะพบกับความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕