หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสำรวย สิริสาโร (ช่างกระโทก )
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสำรวย สิริสาโร (ช่างกระโทก ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม ,พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
  พระมหาบุญเลิศ อินทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม, รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์, พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

   

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของประชาชน                      ๒)  เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล                  ๓)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่(Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๙๗ คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-Test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุดที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย จำนวน ๒๔๓  คน คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๒  มีอายุ ๓๑ - ๔๐ ปี จำนวน ๑๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๘  มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๒๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๐   และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๒๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๐

                ๒. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๒  เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ล่ะด้านพบว่า บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ คือ ด้านการส่งเสริมคุณธรรม ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

                ๓. การเปรียบเทียบคุณภาพการความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม เพศ อายุ  และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน  ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 

                ๔.  ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑.  ปัญหาความช่วยเหลือ  ความร่วมมือที่เพียงพอ และยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม ๒.  ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน  และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่ไม่เพียงพอ ส่วนราชการยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก ๓.  ปัญหาเรื่องของเวลาในการปฏิบัติงานมีความต่างกันและไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่เพราะการที่มีเวลาน้อยจะทำให้ได้รับความเข้าใจได้น้อย ๔.  ปัญหาความร่วมมือจากหน่วยงานและขาดแคลนบุคคลากรและมีกำลังคนขาดหรือเกินในส่วนใดบ้าง

                สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  ๑. ควรเพิ่มความช่วยเหลือ  ความร่วมมือที่เพียงพอ และยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม ๒.  กำหนดระยะเวลาอย่างแน่นอนการในการสอนปฏิบัติ ๓.  ของเวลาในการปฏิบัติงานมีความต่างกันและไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่เพราะการที่มีเวลาน้อยจะทำให้ได้รับความเข้าใจได้น้อย ๔.  จัดเวลาเพื่ออบรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องไปบรรยายให้ความเข้าใจแก่ประชาชน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕