หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธีรศักดิ์ ธีรวํโส ( ยอดยศ )
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
ความพึงพอใจของนิสิตต่อการบริหารงานวิชาการหน่วยวิทยบริการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวัดสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธีรศักดิ์ ธีรวํโส ( ยอดยศ ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปฐมวรวัฒน์ , ดร. พธ.บ., M.A. Ph.D.(Psy)
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. พธ.บ., MA., Ph.D.(Psy.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ( Quantitative  research ) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนิสิตต่อการบริหารงานวิชาการ หน่วยวิทยบริการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดสามพราน  จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตต่อการบริหารงานวิชาการ  หน่วยวิทยบริการ              คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดสามพราน จังหวัดนครปฐม ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการบริหารงานวิชาการ หน่วยวิทยบริการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วัดสามพราน  จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จากนิสิตสาขาวิชาพุทธจิตวิทยา หน่วยวิทยบริการวัดสามพราน  จังหวัดนครปฐม  จำนวน ๗๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนิสิตต่อการบริหารงานวิชาการ หน่วยวิทยบริการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดสามพราน  จังหวัดนครปฐม    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ๑.วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้ทราบลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และลักษณะการแจกแจงของตัวแปร โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าความเบี่ยงเบียนมาตรฐาน (S.D) และผลของการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร ๒.เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการ ตามตัวแปรอิสระโดยสูตรการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว Independent Samples t-test, F-test (One-Way  ANOVA) 

 

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

              ๑. ระดับความพึงพอใจของนิสิต พบว่า ความพึงพอใจของนิสิตต่อการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๗)  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = ๔.๐๒) รองลงมาเป็น ด้านการจัดการการเรียนการสอน (  = ๓.๗๗) ด้านการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก  (  =  ๓.๗๗) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก      ( = ๓.๗๑)  ด้านการวัดผลและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๙) และด้านการใช้สื่อการสอนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด         (  = ๓.๖๓)

              ๒. ความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจของนิสิต พบว่า มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นิสิตที่มี เพศ ระดับชั้นปี  เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) แตกต่างกัน มีความความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการ แตกต่างกัน ในด้านหลักสูตร นิสิตที่มี เพศ ระดับชั้นปี แตกต่างกัน มีความความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการ แตกต่างกัน ในด้านการวัดผลและประเมินผล ส่วนด้านอื่นๆไม่มีความแตกต่างกัน

              ๓. ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการบริหารงานวิชาการ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากนิสิตขาดความเข้าใจซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อประสานระหว่างนิสิตกับหน่วยวิทยบริการ ควรมีการประชุมร่วมนิสิตเพื่อวางแผน และสร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและด้านอื่นๆ เพื่อนิสิตจะได้มีทักษะ ความรู้ และพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕