หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางประไพ เพิ่มกสิกรณ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นางประไพ เพิ่มกสิกรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาวรัญญู วรญฺญู ดร. ป.ธ.๗, พธ.บ, M.A., Ph.D.
  ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖, พธ.บ, ศษ.บ., กศ.ม.
  ดร. สมจิตรา กิตติมานนท์ พย.บ., กศ.ม., พธ.ด.(สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนานี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยตามหลักการพยาบาลศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ (Primary source) คือ พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา และเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) เอกสาร งานวิจัย และตำราวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์สรุปข้อมูลในเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

              )  การพยาบาลผู้ป่วยตามหลักการพยาบาลศาสตร์ ในปัจจุบันมีกำเนิดจากสมัยของ  มิสฟลอเรนซ์ ไนติ้งเกล สุภาพสตรีในอังกฤษ และได้รับการพัฒนาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ เป็นการให้ความช่วยเหลือและการให้บริการบุคคล ครอบครัว ชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การดูแลรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพ โดยประยุกต์หลักการพยาบาลศาสตร์             มาช่วยเหลือบุคคล โดยไม่คำนึงถึงเพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ และลัทธิการเมืองเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

              )  การพยาบาลผู้ป่วยหรือการปรนนิบัติคนไข้ตามแนวพระพุทธศาสนา ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นการพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ สามารถแยกได้ ๓ ประเภท คือ   )  การพยาบาลผู้ป่วยโดยการปรนนิบัติทางกาย ข) การพยาบาลผู้ป่วยโดยการสนทนาธรรมและ    ) การพยาบาลผู้ป่วยโดยการแสดงธรรม ซึ่งเป็นการพยาบาลที่พระพุทธองค์ทรงให้การพยาบาล  โดยพระองค์เอง โดยไม่รีรอและไม่แสดงอาการรังเกียจด้วยพระพักตร์ที่แจ่มใส ยินดีเต็มพระทัยที่จะให้ความช่วยเหลือทางกายทั้งยังทรงให้การพยาบาลจิตใจโดยการแสดงอมตะธรรม  เช่น โพชฌงค์ ๗, สัญญา ๑๐ ประการ พรหมวิหาร ๔ เป็นต้น เข้าถึงสมาธิ จนเป็นผลให้หายจากการเจ็บป่วยทางกายและจิตวิญญาณ

              ) ในการนำเสนอแนวทางการนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยแนวในสังคมไทย ทั้ง ๕ หลักธรรมนั้น  นับเป็นหลักธรรมซึ่งล้วนเป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างที่ดีปัจจุบัน ควรนำไปประยุกต์ใช้กับอาชีพของตนให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เติมเต็มแก่ผู้ให้การพยาบาล ในการประยุกต์กับผู้ป่วยในสังคมไทย  ปัจจุบัน และก่อให้เกิดความรักในอาชีพของตนเองและทำงานอย่างมีความสุขยิ่งขึ้น  โดยผู้ที่จะทำการประยุกต์ใช้การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมอย่างน้อย ๕ หมวดคือ หลักพรหมวิหาร ๔ , อคติ, สังคหวัตถุ ๔, อิทธิบาท ๔ และฆราวาสธรรม ๔ จึงจะสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและทางจิตใจได้ครบถ้วนและสมบูรณ์ แบบองค์รวม

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕