หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนิเทศ ญาณวีโร (ขิงหอม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์วิภัชชวาทในพุทธปรัชญาเถรวาท(๒๕๔๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระนิเทศ ญาณวีโร (ขิงหอม) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาเทียบ สิริญาโณ
  ผศ.บุญมี แท่นแก้ว
  ดร.สมหวัง แก้วสุฟอง
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ความคิดเรื่องวิภัชชวาทแบ่งตาม สารัตถะแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาและคุณค่าเชิงจริยธรรมตามแนวคิดเรื่องวิภัชชวาท ดังที่ ปรากฎในคัมภีรืพระไตรปิฎก โดยศึกษาวิเคราะหืเชิงอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ ซึ่งผุ้วิจัยได้


     จำแนกออกเป็น ๕ บท ในแต่ละบทได้ศึกษางานสำคัญดังนี้
             บทที่ ๑ ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
             บทที่ ๒ ศึกษาความคิดเรื่องวิภัชชวาท
             บทที่ ๓ ศึกษาวิภัชชวาทแบ่งตามสารัตถะแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา
             บทที่ ๔ ศึกษาคุณค่าเชิงจริยธรรมตามแนวคิดเรื่องภิวัชชวาท
             บทที่ ๕ สรุปผลการวิจัย วิจารณ์และข้อเสนอแนะ


     ผลของงานวิจัยทำให้ทราบว่า ความคิดวิภัชชวาทมองสรรพสิ่งโดยแยกแยะหรือมี หลายเงื่อไข ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้วิภัชชวาทปฎิเสธโต้แย้ง คัดค้านความคิดเจ้าลัทธินิกายต่างๆ มีมากถึง ๖๒ ลัทธิ เมื่อกล่าวโดยย่อมีอยู่ ๒ ลัทธิ คือลัทธิสัสสตทิฎฐิ - ความเห็นว่าโลกเที่ยงและ อุจเฉททิฎฐิ - ความเห็นว่าอัตตาขาดสูญซึ่งลัทธิ ๒ ขั้นนี้ มีความเห็นสุดโต่งไปคนละข้าง แต่ความ คิดวิภัชชวาทอยู่ตรงกลางระหว่างทั้ง ๒ ขั้ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่าเป็น มัชเฌนธรรม อนึ่งปัญหา เกี่ยวกับทิฎฐิ ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงอภิปรัชญาพระองค์ทรงงดตอบ เพราะปัญหานั้นไม่มี
Download : 254404.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕