หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เมย์ อำนวยพันธ์วิไล
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
วิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : เมย์ อำนวยพันธ์วิไล ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ เพื่อศึกษาวิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี                 จังหวัดกำแพงเพชร วัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ เพื่อเปรียบเทียบวิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลัก   อิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามตำแหน่ง อายุ อายุการปฏิบัติงาน โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๔๔  คน  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed reseach) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Reseach) นำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reseach)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview Form)  หาความเที่ยงตรง (validity) โดยนำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างเสร็จ เสนอประธานและกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อขอความเห็นชอบและเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จนได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง  ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อ (Index of Item Objective Congruence : IOC) ได้ค่า IOC  มากกว่า ๐.๐๕ ขึ้นไปทุกข้อ เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยจากโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีบุคลากรจำนวนน้อย ผู้วิจัยไม่ได้ทำการศึกษาจากบุคลากรทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน ๕๐ คน เพราะว่าจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลถูกจำกัดด้วยค่าพารามิเตอร์ (Parameter) เช่น ค่ามิวส์ µ เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตของประชากรและ(Sigma σ) ดังนั้นจึงได้เปิดตารางขนาดการสุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ แครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcle & D.W.Morgan) ได้ขนาดตัวอย่าง ๔๔ คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samepling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test )  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
      ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรในการวิจัยมีความคิดเห็นต่อวิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ ๕๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๕๐ เป็นครูผู้สอน จำนวน ๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๑๐ มีอายุการปฏิบัติงาน ๙ ปีขึ้นไป จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๕๐
        เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อวิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลัก    อิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ ด้านฉันทะ   ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา จำแนกตามตำแหน่ง อายุ อายุการปฏิบัติงาน พบว่าความคิดเห็นต่อวิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์                 อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน แต่มีความเพียงพอที่จะใช้อนุมานไปยังประชากรกลุ่มใหญ่ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแบ่งเป็นกลุ่มย่อยขนาดเล็กจึงทำให้มีผลต่อการปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กที่สามารถนำมาใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) n>=๓๐ 
        หมายความว่าขนาดตัวอย่างที่นำมาหาค่าสถิติเชิงอนุมานได้จะต้องมีขนาดตัวอย่าง (n>=๓๐)
        วิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท ๔ ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์    อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร นั้นผู้บริหารและครูผู้สอนต้องมีความร่วมมือร่วมใจกัน เต็มใจ เสียสละและอดทน ใช้สติปัญญาใคร่ครวญหาแนวทางหรือวิธีในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในการบริหารจัดการ ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีบริบทของทรัพยากรด้านต่างๆ ขาดแคลน

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕