เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง |
การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสังคมอุดมคติในทัศนะของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)(๒๕๔๔) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระวรากรณ์ ชยากโร (พูนสวัสดิ์) |
ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๗/๒๐๑๐ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาประสิทธิ์ พฺรหมฺรํสี |
|
ดร.วีระชาติ นิ่มอนงค์ |
|
ดร.สุรพล สุยะพรหม |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๓ เมษายน ๒๕๔๔ |
|
บทคัดย่อ |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสังคมอุดมคติในทัศนะ
ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เพื่อให้ทราบว่า สังคมอุดมคติคืออะไร มีลักษณะอย่างไร มนุษย์
สามารถเข้าถึงสังคมอุดมคติได้หรือไม่และสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาสังคมไทยและสังคมโลกได้
อย่างไร
จากการศึกษาวิจัยพบว่า สังคมอุดมคติของพระธรรมปิฎก หมายถึง สังคมที่ดีงามอันเป็น
แบบอย่างที่พึงปราถนาของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมแห่งกัลยาณมิตรที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อ
การที่สมาชิกในสังคมจะได้พัฒนาศักยภาพของคนให้เข้าถึงอิสรภาพทั้งสี่ด้าน คือ อิสรภาพทางกาย
อิสรภาพทางสังคม อิสรภาพทางจิตใจและอิสรทางปัญญา สังคมจึงเกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์ได้รับ
การศึกษาเพื่อพัฒนาตน
ในทัศนะของพระธรรมปิฎกสังคมสงฆ์เป็นสังคมตัวอย่างซึ่งมีหลักการที่สำคัญสอง
ประการ คือ หลักธรรมกับหลักวินัย ซึ่งหมายถึงกฎของธรรมชาติกับกฎของมนุษย์(สังคมนิยมน์)
พระธรรมปิฎกได้วิเคราะห์หลักการ เจตนารมณ์และรูปแบบวิถีชีวิตในสังคมสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับ
สังคมฆราวาส โดยเห็นว่า ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดสังคมอุดมคติมีสองปรการคือ
๑. ปัจจัยภายนอกทางสังคมที่ดี เรียกว่าสังคมแห่งกัลยาณมิตร ซึ่งหมายถึงระบบโครงสร้างทาง
สังคมทั้งหมดที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นจะต้องประสานเป็นอันเดียวกันบนฐานแห่งความเข้าใจใน
ความจริงตามกฎธรรมชาติโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์เข้าถึงธรรม
๒. ปัจจัยภายในปัจเจบุคคลที่ดี เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติภายใน
ปัจเจกบุคคลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการหล่อหลอมของสังคมที่ดี อันเป็นบุคคลอุดมคติของสังคม
คือ ความเป็นพระโสดาบันและกัลยาณปุถุชน
วิธีการที่จะเข้าถึงสังคมอุดมคติและพัฒนาบุคคลอุดมดติ คือ การศึกษที่ถูกต้องตามหลัก
ไตรสิกขา การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการสร้างบุคคลและสังคมอุดมคติ เมื่อนำแนวคิดของพระธรรมปิฏกมาวิเคราะห์กับแนวคิดของปรัชญาตะวันตกและ ตะวันออกทำให้เห็นลักษณะเด่นของแนวคิดพระธรรมปิฎก คือ แนวคิดของพระธรรมปิฎกให้ความ สำคัญกับความสัมพันธ์ของระบบบูรณาการทั้งสาม คือ มนุษย์ ธรรมชาติและสังคม โดยที่ระบบทั้งสาม จะต้องมีความเกื้อกูลประสานกันอย่างสมดุลและถูกต้อง นอกจากนี้แนวคิดของพระธรรมปิฎกยัง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและการพัฒนาสังคมจะต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องและส่งเสริมกัน นั่นคือ แนวคิดของพระธรรมปิฎกให้ความสำคัญทั้งสาระและรูปแบบ บุคคลและระบบ ปัจเจกบุคคลและสังคม จิตใจและรูปธรรม ดังนั้น แนวคิดของพระธรรมปิฎกจึงสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้ ทั้งปัจเจกบุคคล สังคม และธรรมชาติแวดล้อม ของสังคมไทยและสังคมโลก
Download : 254412.pdf
|
|
|