หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภาวดี ไชยกาล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
วิเคราะห์คติธรรมจากจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : สุภาวดี ไชยกาล ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  เรืองเดช เขจรศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ประการ คือ ()เพื่อศึกษาความสำคัญของจิตรกรรมฝาผนังในทางพระพุทธศาสนา ()เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ()เพื่อศึกษาวิเคราะห์คติธรรมที่สะท้อนจากจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และโดยการลงภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุป

             ผลจากการวิจัยภพว่า วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือในรัชสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่   ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง เป็นภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณี ใช้โทนสีจัดจ้านได้แก่ แดง น้ำเงิน ขาว เหลือง เขียว และน้ำตาล เป็นสีหลัก ทำให้ภาพดูน่าสนใจ น่าติดตาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง เขียนเรื่องราวพุทธประวัติ ภาพไตรภูมิ และภาพเทพชุมนุม  ฝาผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนปรินิพพาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติ ตอน ผจญมาร  ด้านขวามือของพระประธานเขียนภาพชาดก เรื่องพระเวสสันดรชาดก ด้านซ้ายมือของพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนก่อนตรัสรู้  ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงด้านบนเขียนภาพชาดก เรื่องพระเวสสันดรชาดก ภาพพุทธประวัติ และเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ  ส่วนในหอไตรกลางน้ำเขียนภาพวาดเป็นรูปกินรีเหยียบยุดนาคหันหน้าเข้าหากัน ตรงกลางใกล้กรอบหน้าต่างเป็นรูปหนุมานแบก ตอนบนของผนังเป็นรูปนักสิทธิ์เหาะ ส่วนกรอบลายด้านบนภาพเลือนไปมากแล้ว ประตู ๑ บาน และหน้าต่าง ๔ ผนัง บานประตูและหน้าต่างเขียนเป็นรูปทวารบาลอย่างงดงาม  ดังนั้นภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมือง ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นการสื่อสารกันอีกวิธีหนึ่งโดยใช้สัญลักษณ์ภาพ  การจารึกภาพลงบนฝาผนังซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเผยแผ่เรื่องราวทางพระพุทธศาสนา  บันทึกเรื่องราว ความคิดความอ่าน หรือเพื่อสื่อถึงวิถีชีวิต จารีตประเพณีของคนในสังคมในยุคนั้น

             ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมืองนั้น ได้สะท้อนเรื่องราวของยุคสมัย สภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย และทรงผม นอกจากนี้ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมืองยังมีภาพวาดที่ผู้วาดในสมัยนั้นได้วาดภาพที่สอดแทรกอารมณ์ขันไว้ในงานตามจินตนากาลของผู้วาดไว้ในภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ด้วยซึ่งได้บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของตนเองไว้เสมอซึ่งเป็นรูปหญิงชาวบ้านนั่งไม่ทันได้ระวังตัวปล่อยให้ชายผ้าถุงเปิดกว้างภาพนี้สามารถสร้างเสียงหัวเราะเสมอเมื่อผู้เข้าชมภาพได้พบเห็น 

             ภาพจิตรกรรมแต่ละภาพมีหลักธรรมแฝงอยู่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต ความเป็นจริงของโลก ความถูกต้อง และความดีงามของมนุษย์ ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้จะเป็นแสงสว่างส่องทางที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปพบกับชีวิตที่สะอาด สงบ สว่าง เช่น หลักการให้ทานจากชาดกเรื่องพระเวสสัดร  หลักปัญญาจากภาพพระพุทธเจ้าพบเทวทูตทั้ง หลักการดับกิเลสจากภาพผจญมาร และหลักความไม่ประมาทจากภาพเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นต้น  กุศลกรรมบถ ๑๐ และโพชฌงค์ จากภาพจิตรกรรมพุทธประวัติแสดงให้เห็นถึงการประพฤติปฏิบัติในบุญกุศล จึงจะได้เกิดมาเป็นบุคคลสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้า พระอัครสาวก เป็นต้น  บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และบารมี ๑๐ จากภาพผจญมาร แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย คือสิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์ นอกจากนี้ยังมีหลักเทวธรรม และธรรมของผู้ครองเรือน  

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕