หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพีระพงษ์ อาทิจฺจวํโส
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
: สภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระพีระพงษ์ อาทิจฺจวํโส ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ชวัชชัย ไชยสา
  พิเชฐ ทั่งโต
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ โดยจำแนกตาม อายุ พรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาสายสามัญ           วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และ    ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี

              กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการในอำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรีจำนวน ๒๖๔ รูป  การเลือกสุ่มตัวอย่าง ใช้ตามหลักความแปรผันร่วมกันระหว่างขนาดของกลุ่มตัวอย่างกับความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ (Taro Yamane) ในการวิจัยครั้งนี้สร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ จำนวนพรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง โดยสอบถามแบบปลายเปิด (Open-questions) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ได้แก่  ความคิดเห็นเกี่ยวกับพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์อำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์  ด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์

              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check-list)     และมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)   และเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ โดยใช้สถิติ One – way ANOVA (F)

            ผลการวิจัยพบว่า พระสังฆาธิการที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีอายุ ๓๑๔๐ ปี จำนวน ๙๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐, มีตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส จำนวน ๑๕๐ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๘, มีจำนวนพรรษา ๒๑ พรรษาขึ้นไป จำนวน ๘๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๒,มีวุฒิการศึกษาสายสามัญ ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๑๕๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๒, มีวุฒิการศึกษาทางธรรม นักธรรมชั้นเอก จำนวน ๒๕๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๐, มีวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม ไม่มีวุฒิเปรียญธรรม จำนวน ๑๔๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๑ และ  มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่า ๕ ปี จำนวน ๑๐๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๐.

              สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี  พบว่า พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาบริหารงานของพระสังฆาธิการในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x = .๖๗) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ๑ ด้าน คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ส่วนด้านอื่นๆ พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีในระดับมาก

              การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี พบว่า  การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาบริหารงานของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี  จำแนกตามสถานภาพด้านอายุ ด้านตำแหน่ง ด้านจำนวนพรรษา ด้านวุฒิการศึกษาสายสามัญ ด้านวุฒิการศึกษาทางธรรม ด้านวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวม ด้านอายุ, ตำแหน่ง, และด้านระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕ส่วนด้านจำนวนพรรษา ด้านวุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

    ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของพระสังฆาธิการพบว่า ในการบริหารงาน ยังขาดหลักธรรม ฉะนั้นในการบริหารงานจึงต้องประกอบด้วย พรหมวิหาร ๔ และเข้าตรวจเยี่ยมวัดภายใต้ปกครองของตนเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะความคุ้นเคยกันกับความใกล้ชิด ในระดับผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครองช่วยทำให้การบริหารในส่วนด้านการปกครองมีความคล่องตัวมากขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕