หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูธรรมศาสน์อุโฆษ (ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรธมฺโม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูธรรมศาสน์อุโฆษ (ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  ยุทธนา ปราณีต
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน ๒๕๑ รูป ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒๔วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (F-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ผลการศึกษาพบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x = .๗๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม   อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียนเท่ากับ (x =๓.๗๘) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบันเท่ากับ (x = ๓.๗๔) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ต่อผู้ที่ด้อยโอกาสเท่ากับ (x =๓.๗๑) และด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและ อบายมุขเท่ากับ (x =๓.๗๐) ตามลำดับ

                การเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมไม่แตกต่างกันตาม อายุ  พรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม และวุฒิการศึกษาด้านบาลี จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ พบว่า ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ได้แก่ ๑) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ยังขาดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และบุคลากรที่จะมาดำเนินการในด้านนี้  ๒) ด้านการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน การมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในการบริหารงานยังน้อยอยู่ ๓) ด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและ อบายมุข ความพร้อมของวัดในการทำเป็นศูนย์กลาง ลดละเลิกสิ่งเสพติดและอบายมุข     และกลัวอิทธิพล รวมทั้งยังขาดบุคลากรและงบประมาณในการดำเนินการ ๔) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ต่อผู้ที่ด้อยโอกาส และยังขาดทุนในการสนับสนุนในด้านการศึกษายังขาดการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส

สรุปจากการสัมภาษณ์ ทำให้เห็นว่าบทบาทของพระสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในอำเภอนครชัยศรี  ต้องมีการร่วมมือกันให้มากขึ้น มีการสนับสนุนจากพระสังฆาธิการในอำเภอต่อการศึกษาสงเคราะห์ให้มาก มีแหล่งเงินทุนและบุคคลลากรในการบริหารงานอย่างเป็นระบบแล้วการบริหารงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ก็จะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นทำให้งานส่วนนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ ได้แก่ ๑) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานบริหารงานตามภาระหน้าที่ของงานให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมบุคลากรในการดำเนินการ ๒) ด้านการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน  ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสแสดงคิดเห็นในการบริหารให้มากขึ้น  ๓) ด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและ อบายมุข เจ้าอาวาสต้องมีความพร้อมในการบริหารจัดการ และให้เจ้าหน้าที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการตามกฎหมาย ๔) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ต่อผู้ที่ด้อยโอกาส ควรจัดหาทุนเพื่อสนับสนุนในการศึกษา และจัดตั้งกองทุน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕