หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วรุตม์ ทวีศรี
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรมเพื่อการพัฒนาสู่องค์การ ประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : วรุตม์ ทวีศรี ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์
  อภินันท์ จันตะนี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัย เรื่อง “การพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรมเพื่อการพัฒนาสู่องค์การ

ประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของภาวะผู้นาภายในองค์การที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์การประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นาขององค์การที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์การประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรม เพื่อการพัฒนาผู้นาขององค์การที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์การประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยเป็นการวิจัยแบบประสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารและผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียในหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม ๒๑ ท่าน การวิจัยเชิงปริมาณได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรที่ทางานในหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ๕ แห่ง จานวน ๒๘๐ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรกับความความพร้อมในการพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One-way ANOVA) วิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นาตามหลักธรรมและ
ทฤษฎีเชิงสถานการณ์กับทฤษฎีภาวะผู้นาการเปลี่ยนแลงที่มีผลต่อองค์การประสิทธิภาพสูง ใช้สถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุวิเคราะห์สัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาแ ละองค์การประสิทธิภาพสูงด้วยสถิติพหุคูณถดถอย (Multiple linear Regression) และสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรมจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดที่ต่างกันในเรื่องของภาวะผู้นาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อิทธิบาท ๔ สังคหวัตถุ ๔ ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นาเชิงสถานการณ์ที่มีผลต่อการก้าวขึ้นสู่องค์การประสิทธิภาพสูง โดยสามารถสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาจากทั้ง ๓ หลักธรรม ๑๕ องค์ประกอบ สรุปได้ดังนี้
๑. บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน ๑๘๒ คิดเป็นร้อยละ ๖๕ เพศชาย จานวน ๙๘ คน ร้อยละ ๓๕ ประชากรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย ๓๑-๔๐ ปี จานวน ๑๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๘๐ เห็นด้วยกับการพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรมเพื่อไปผลักดันองค์การให้ก้าวสู่องค์การประสิทธิภาพสูง
๒. สภาพทั่วไปของภาวะผู้นาพบว่าหลักการโดยรวมของภาวะผู้นาคือการพัฒนาผู้นาให้สามารถควบคุมตัวเองได้มีสติรู้ตัวเองตลอดเวลา มีสมาธิมุ่งมั่นเป็นคนดีมีจริยธรรมความซื่อสัตย์สามารถเป็นแบบอย่างได้ ควรมีวิสัยทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างสรรค์นวัตกรรม
๓. การวิเคราะห์หลักธรรมทางพุทธศาสนาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับภาวะผู้นาพบว่าหลักธรรมที่มีอิทธิพลต่อองค์การประสิทธิภาพสูงคือ (๑) หลักสังคหวัตถุ ๔ มีอิทธิพลค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง (๒) อิทธิบาท ๔ มีอิทธิพลระดับปานกลาง และ (๓) หลักสัปปุริสธรรม ๗ มีอิทธิพลระดับปานกลางถึงสูง ส่วนแนวคิดทฤษฎีมีอิทธิพลระดับปานกลาง
๔. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักธรรมประกอบด้วย เงื่อนไข ระดับผู้นา ลาดับความเร่งด่วน และองค์ประกอบสาคัญ ๓ หลักธรรม จานวน ๑๕ องค์ประกอบ หลักสังคหวัตถุ ๔ จานวน ๔องค์ประกอบ อิทธิบาท ๔ จานวน ๔ องค์ประกอบ หลักสัปปุริสธรรม ๗ จานวน ๗ องค์ประกอบ
 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕