หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปราโมทย์ จันทร์บุญแก้ว
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : ปราโมทย์ จันทร์บุญแก้ว ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฏียุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคลากรและหลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ       ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ๓) เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๒๕ รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบหลัก SWOT Analysis

 

               ผลการวิจัยพบว่า

                         ๑. แนวคิด ทฤษฏียุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรและหลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า มีการกำหนดเป้าหมาย (Target) ที่ชัดเจน การกำหนดแผนงานในการปฏิบัติงาน (Working) อย่างเหมาะสม มีการเลือกใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มี   ความพร้อม การกำหนดแผนการประเมินหรือตัวชี้วัดความสำเร็จ (Assessment) ที่เป็นไปได้ และผู้รับผิดชอบระดับองค์การและระดับหน่วยงานมีการกำหนดหน้าที่ (Function) และบทบาทใน        การส่งเสริมยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งในการบริหาร ทั้ง ๔ ด้าน คือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยยึดเอาหลักโลกบาลธรรมอันประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ เพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ส่วนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของสถานีตำรวจ นครบาลที่นำเอาหลักไตรสิกขาซึ่งเป็นหลักที่สามารถพัฒนาให้ตำรวจเกิดพฤติกรรมที่ดี (ศีล) เป็นผู้มีเมตตา (สมาธิ) และมีความรู้ในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน (ปัญญา) สำหรับกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพที่ก่อให้เกิดความพอใจในการเป็นตำรวจและพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ (ฉันทะ) มีความพากเพียรในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง เต็มความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้ประชาชน (วิริยะ) มีความมุ่งมั่น จดจ่อ เอาจริงเอาจังกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ (จิตตะ) และ มีความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่มีความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติงาน และสามารถสร้างความพอใจให้กับประชาชน (วิมังสา) และข้าราชการตำรวจมีสมรรถนะสูงในการปฏิบัติหน้าที่และนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ พบว่าบุคลากรมีความไม่ประมาท              มีความระมัดระวังอย่างสูงสุด (สติ) รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความฉลาดเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับตนเอง กับสถานการณ์ มีความตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองได้ รวมทั้งการรู้จักป้องกันอาชญากรรมที่มากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ (หลักสัมปชัญญะ)

                 ๒. สภาพทั่วไปของการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าอุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรอยู่ที่ประชาชนยังไม่พอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ พบว่าข้อจำกัดในหลายด้านของสถานีตำรวจนครบาลยังคงขาดประสิทธิภาพอย่างมากเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมีภาระงานเยอะเกินไป คำสั่งที่จะให้ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับบางพื้นที่ มีระบบอุปถัมภ์ในองค์กร ระบบการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่จริงจัง และขาดประสิทธิภาพ และด้านการมีสมรรถนะสูงในการปฏิบัติหน้าที่และนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ พบว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลยังมีจุดอ่อนในการนำเทคโนโลยีมาใช้อยู่มากเพราะเจ้าหน้าที่ยังขาดทักษะ ความชำนาญ ความรู้ ความสามารถ    ด้านเทคโนโลยียังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความเชี่ยวชาญที่จะนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากพอ

               ๓. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ๑. การบริหารโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอยู่ที่การมุ่ง การปลูกฝังทัศนคติต่อการไม่ยอมรับผู้ที่มีพฤติกรรมชั่วร้าย และการสร้างระบบการกำราบผู้ไม่เกรงกลัวความชั่ว เพิ่มบทลงโทษที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมชั่วร้าย พร้อมกับยกย่องตำรวจที่ดี ๒.ผู้มี    ส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ที่การฝึกหัดตนเอง การพัฒนาทักษะการสื่อสารดี  การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและเปิดใจรับเสียงประชาชน ๓.กระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ อยู่ที่การปลูกพลังอุดมการณ์ของตำรวจในเกิดความรักและความศรัทธาในอาชีพส่งเสริมความผูกพันในองค์กร และ ๔.ข้าราชการตำรวจมีสมรรถนะสูงในการปฏิบัติหน้าที่และนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอยู่ที่บุคลากรมีความฉลาด มีสติ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสและรู้ทั้งตนเอง และฉลาดรู้เท่าทันในเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการบริการจัดการ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕