หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายเสนาะ เฑียรทอง
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฎอยู่ในพุทธศิลป์ : ศึกษาเฉพาะกรณีของพระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : นายเสนาะ เฑียรทอง ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี)
  พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ธมฺมธโช)
  ดร.วีระ วงศ์สรรค์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำเนิดและพัฒนาการพุทธศิลปวัตถุพุทธธรรมและปรัชญาพื้นฐานของการก่อสร้างพุทธศิลปวัตถุสำ หรับเป็นสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเผยแผ่พุทธธรรมผ่านพุทธศิลปวัตถุโดยพระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม อนิโช)จากการศึกษาพบว่า การสร้างพุทธศิลปวัตถุของพระครูอุภัยภาดาทร(หลวงพ่อขอม อนิโช) วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี จุดเริ่มต้นมาจากการสร้างศาลาการเปรียญเพื่อประกอบศาสนพิธีต่างๆ ต่อมามีการสร้างกุฏิ วิหาร อุโบสถ พระพุทธรูปปางต่างๆ พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้างต่างๆ ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มพุทธศิลปวัตถุออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) สถาปัตยกรรม เช่นอุโบสถ วิหาร เมืองจำลองต่างๆ ๒) ปฏิมากรรม เช่น พระพุทธรูปางต่างๆ หรือประติมากรรมซึ่งเป็นศิลปวัตถุที่เนื่องด้วยความเชื่อเกี่ยวกับบาป บุญ คุณ โทษ ๓) จิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับเรื่องวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฎบนฝาผนังอุโบสถ วิหาร เมืองจำลอง ซึ่งพุทธศิลปวัตถุต่างๆ ในวัดไโรงวัวสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้รู้จักพระพุทธศาสนา โดยใช้พุทธรูปเ ป็ น สื่ อ เ ผ ย แ ผ่พุทธธรรม และเพื่อเป็นพุทธานุสติ เพื่อเป็นการประกาศพระพุทธศาสนา ตามที่ท่านเรียกว่า “พุทธทูต”เพราะผู้ที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อใดที่ได้เห็นพระพุทธรูป ย่อมเป็นหนทางแห่งการเกิดบุญกุศลส่วประติมากรรม รูปปั้นเปรต ต่างๆ เป็นสื่อสำคัญสำหรับจูงใจให้ประชาชนเกิดความกลัว การทำความชั่ว ทำให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกกลัวบาป ดังนั้น ประติมากรรม จึงมีความสำคัญสำหรับทุกคนเพื่อให้ละเว้นจากบาปทั้งหลายสำหรับผู้ที่ประกอบกุศลกรรม คือการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา พระครูอุภัยภาดาทร(หลวงพ่อขอม อนิโช) จะใช้พุทธปฏิมากรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังเป็นสื่อในการสอนทำให้คนอยากสร้างความดีจากการวิจัยภาคสนามพบว่า พุทธศิลปวัตถุต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแผ่พุทธธรรมนั้นได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีตามแนวความคิดของพระครูอุภัยภาดาทร คือ ต้องการให้ประชาชนเกิดความกลัวบาปทั้งปวง และอยากสร้างคุณงามความดีทั้งหลาย สูงขึ้นไปถึงขั้นเกิดความสุขสูงสุด คือ นิพพาน

Download : 254825.pdf


 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕