หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อรวรรณ หงษ์ประชา
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ศึกษาหลักการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่นับถือ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ชุมชนวัดกัลยาณมิตร ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนกุฎีขาว เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : อรวรรณ หงษ์ประชา ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                    

งานวิจัยเรื่องศึกษาหลักการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่นับถือศาสนา  พุทธ  คริสต์  อิสลาม  ชุมชนวัดกัลยาณมิตร  ชุมชนกุฎีจีน  และชุมชนกุฎีขาว  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้    ประการด้วยกันคือ (๑)  เพื่อศึกษาหลักคำสอนว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน  ของศาสนาพุทธ  ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม (๒)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมวิถีปฏิบัติและกิจกรรมในการอยู่ร่วมกัน  ของชาวพุทธ  ชาวคริสต์  ชาวอิสลาม ในชุมชนวัดกัลยาณมิตร  ชุมชนกุฎีจีน  ชุมชนกุฎีขาว  (๓)  เพื่อศึกษาหลักการและวิถีปฏิบัติแห่งการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธ  ชาวคริสต์  และชาวอิสลาม

ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาหลักคำสอนว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน  ของศาสนาพุทธ  มีหลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมคือ  เบญจศีล  เบญจธรรม  พรหมวิหาร ๔ ฆราวาสธรรม ๔  สาราณียธรรม ๖  สังคหวัตถุ  ๔ ศาสนาคริสต์  คือหลักความรัก    ประการคือ รักพระเจ้าอย่างสูงสุด  และรักเพื่อนมนุษย์อย่างสูงสุดคือรักตัวเองก็ต้องรักผู้อื่นด้วย ส่วนหลักของศาสนาอิสลามคือหลักปฏิบัติ ๕  ประการ  และหลักศรัทธา    ประการ  ประชาชนในชุมชนวัดกัลยาณมิตร  ชุมชนกุฎีจีน  และชุมชนกุฎีขาว  ได้ยึดหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือนั้นเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต  และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

จากการศึกษาประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชนวัดกัลยาณมิตรชุมชนกุฎีจีน  ชุมชนกุฏีขาว  ผู้วิจัยพบว่า  ชุมชนทั้งสามชุมชนที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์  มีความแตกต่างทางศาสนา  และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี  แต่ภายใต้ภาวะความแตกต่างนั้น  กลับเป็นการหลอมรวม  และผสมผสานวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่  ของประชาชนในชุมชน ทั้งสามศาสนา  ได้ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ  มีการผสมผสานยอมรับวัฒนธรรมทางศาสนาซึ่งกันและกัน  มีการปรับตัวเข้าหากัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง    ของชุมชนไว้  มีการทำโครงการและกิจกรรมร่วมกัน    ซึ่งก่อให้เกิดความสามัคคี   ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา  ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

            จากการสัมภาษณ์  พบว่าผู้นำชุมชน  คณะกรรมการชุมชน มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดวิถีปฏิบัติแห่งการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธ   ชาวคริสต์   ชาวอิสลามในชุมชนวัดกัลยาณมิตร  ชุมชนกุฎีจีน  และชุมชนกุฎีขาว นั้นมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีพิธีกรรม  และความเชื่อของแต่ละศาสนา โดยศาสนิกชนของชุมชนทั้งสามศาสนา ต่างมีความภาคภูมิใจในศาสนาของตนและในขณะเดียวกัน ต่างก็ยกย่องให้เกียรติศาสนิกชนของศาสนาอื่น มีกลุ่มผู้นำของศาสนิกชน ทั้งสามศาสนาที่ยึดมั่นในความเชื่อและหลักปฏิบัติของทั้งสามศาสนาที่มีความแตกต่างกัน แต่ในความแตกต่างของศาสนานั้นกลับมีคำสอนที่สอดคล้องกันโดยหลักคำสอนของทุกศาสนาล้วนสอนให้คนเป็นคนดี  สอนให้มนุษย์รักกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ให้เบียดเบียนกัน  เคารพกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน  มีความรักและความเข้าใจกัน  ให้อภัยซึ่งกันและกันมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน  มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ   ทำให้ชุมชนแห่งนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  ซึ่งชุมชนอื่น    ควรยึดถือเป็นต้นแบบของการดำรงชีวิตและดำเนินชีวิตท่ามกลางความแตกต่างทางพหุวัฒนธรรมและพหุนิยมทางศาสนา

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕