หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวันเพ็ญ กนโก (พงชะเกาะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
วิเคราะห์หลักสัจจะที่ปรากฏในวิธุรบัณฑิตชาดก
ชื่อผู้วิจัย : พระวันเพ็ญ กนโก (พงชะเกาะ) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                 วิเคราะห์หลักสัจจะที่ปรากฏในวิธุรบัณฑิตชาดก นี้ มีวัตถุประสงค์ ประการ คือ     () เพื่อศึกษาความเป็นมาของวิธุรบัณฑิตชาดก () เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกื้อหนุนและปฏิปักษ์ต่อหลักสัจจะในวิธุรบัณฑิตชาดก  () เพื่อศึกษาความสำคัญของหลักสัจจะกับการประกอบอาชีพในสังคม ผลการวิจัยพบว่า        

  ความเป็นมาของวิธุรบัณฑิตชาดก พบว่า อดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในชาดกโดยวิธุรบัณฑิตนั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมและ หนักแน่นในเรื่องของการรักษาสัจจะและเป็นผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบต่อคำพูด และการกระทำของตน แม้จะถูกปุณณกยักษ์จับไปเพื่อฆ่าเอาหัวใจก็ไม่เกรงกลัวทั้งนี้เพราะต้องการรักษาสัจจะที่ได้ให้ไว้กับยักษ์จนสามารถเปลี่ยนความคิดของยักษ์ด้วยการปฏิบัติให้ยักษ์เห็นความจริงและมั่นคงในสัจจะวาจาของตน ในที่สุดก็รักษาชีวิตให้รอดพ้นจากอันตรายได้

                 หลักธรรมที่เกื้อหนุนต่อหลักสัจจะในวิธุรบัณฑิตชาดก พบว่า วิธุรบัณฑิตได้ประพฤติปฏิบัติและแสดงให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม หลักธรรมที่สนับสนุนกับสัจจะใน    วิธุรบัณฑิตชาดกได้แก่ ทศพิธราชธรรม,  จักกวรรดิธรรม,  พรหมวิหาร,  ฆราวาสธรรม,  อธิษฐานธรรม, สังคหวัตถุ  ที่วิธุรอำมาตย์ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง  จึงได้รับยกย่องจากบุคคลทั้งหลายว่าท่านเป็นบัณฑิตเป็นผู้ที่มีสัจจะ ส่วนหลักธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักสัจจะนั้น ส่งผลทำให้ไม่สามารถที่จะเข้าถึงหลักสัจจะได้ ดังนั้นจึงต้องศึกษาและให้รู้เท่าทันเพื่อให้หลักสัจจะได้เกิดขึ้นในใจและสามารถนำมาปฏิบัติเกิดผลต่อตนเองและผู้อื่น

                 ความสำคัญของหลักสัจจะกับการประกอบอาชีพในสังคม พบว่า ผลการบำเพ็ญบารมีของวิธุรบัณฑิตสามารถนำมาใช้ประโยชน์ใน ๓ ด้าน กล่าวคือ (๑) การนำสัจจะไปใช้ในด้านการเมืองจะต้องยึดหลักสัจจะธรรมในการบริหารบ้านเมือให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้คนส่วนมาก (๒) การนำสัจจะไปใช้ในด้านการศึกษาสัจจะในด้านการศึกษาซึ่งต้องเกี่ยวข้อง ทั้งด้านผู้สอนหรือผู้ให้การศึกษาและผู้เรียนคือ ผู้รับการศึกษาต้องมีความจริงใจต่อกัน โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยความประพฤติอันบุคคลจะพึงแสดงต่อกัน  มีความบริสุทธิ์ใจและความจริงใจต่อกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ประพฤติที่ดีงาม การเรียนการสอนนั้น จะต้องมุ่งที่ความบริสุทธิ์ใจหรือความจริงใจต่อกันเป็นสำคัญ จึงจะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษา (๓)การนำสัจจะไปใช้ในด้านของนักธุกิจ                      คือสอนให้มีหลักสัจจะ คือ ให้บุคคลที่รู้จักความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน โดยเน้นให้ประกอบสัมมาอาชีพด้วยสัจจะ การมีสัจจะต่อกันในการประกอบสัมมาอาชีพ ย่อมส่งผลให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕