หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นงค์เยาว์ แสงคำ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ปัญหาและทางออกตามหลักพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นงค์เยาว์ แสงคำ ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร(บุญช่วย สิรินฺธโร)
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์๒ประการคือ(๑ ) เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น() เพื่อประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ผลการศึกษาพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากร้อยละ๑๐ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดในปี๒๕๓๖ เป็นร้อยละ ๑๔.๗-๒๐ ในปัจจุบัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีสาเหตุทั้งจากครอบครัว จากสภาพสังคม เทคโนโลยีการสื่อสารเพศศึกษาที่ล่อแหลมหรือแม้กระทั่งจากค่านิยมทางเพศที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์(Unwanted Pregnancy) จึงส่งผลกระทบต่อการเรียน ต่อภาวะสุขภาพของวัยรุ่นและทารกในครรภ์ และต่อสังคมด้วยการทอดทิ้งเด็กที่คลอดบางรายหาทางออกด้วยการทำแท้งหรือตัดสินใจฆ่าตัวตาย

พระพุทธศาสนามีคำสอนที่นำมาใช้ได้กับทุกวัย ทุกสังคมแม้จะเป็นสังคมวัตถุนิยม พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์เรียนรู้ตนเอง ค้นหาตนเองและมองให้ถึงต้นเหตุแห่งปัญหา หรือต้นเหตุแห่งทุกข์         พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรมที่ใช้เป็นทางออกของปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือให้ป้องกันแก้ไขที่ตนเองก่อน จากนั้นจึงแก้ไขที่สถาบันครอบครัว และที่บุคคลหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาใช้เพื่อการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดและแก้ไขหลังเกิดปัญหาได้ ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น หลักธรรมที่วัยรุ่นควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันปัญหานี้คือหลักอิทธิบาท ๔ หลักอบายมุข๔  หลักมิตรแท้ มิตรเทียม หลักทิศ๖ หลักอินทรีย์๖ หลักการคิดแบบโยนิโสมาสิการ ส่วนบิดามารดา ต้องเริ่มตั้งแต่การครองคู่กันอย่างไรให้มีความสุขและมีความอบอุ่นในครอบครัว ใช้หลักสมชีวิธรรม๔ ฆราวาสธรรม๔พรหมวิหารธรรม๔ อินทรีย์๖ ส่วนผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคลในองค์กร ในชุมชน ควรนำหลักธรรมที่เหมาะสมมาแก้ไขปัญหานี้คืออรรถ๓ พรหมวิหารธรรม๔ บุคคล๔ จริต๖ หลักธรรมทั้งหมดสรุปลงในหลักการคิดว่าการที่จะบรรลุถึงจุดสูงสุดในการพัฒนาตนเองและในการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงเหตุปัจจัย ๒ ประการคือปัจจัยภายในได้แก่โยนิโสมนสิการคือการคิดหรือไตร่ตรองอย่างแยบคายรอบด้าน และปัจจัยภายนอกได้แก่ปรโตโฆษะหรือกัลยาณมิตรซึ่งหมายถึงมิตรที่ดีสังคมที่ดีตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ดี ปัจจัยทั้ง ๒ ประการเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นต้นทางของความดีงามทั้งปวงที่วัยรุ่นควรใช้ในการฝึกตนอย่างสม่ำเสมอ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕