หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รุ่งนิภา พัฒนพฤกษชาติ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ปรัชญาการศึกษาของเพลโตในทัศนะของพุทธปรัชญา
ชื่อผู้วิจัย : รุ่งนิภา พัฒนพฤกษชาติ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาพรชัย สิริวโร
  วีรชาติ นิ่มอนงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ


                                               บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง ปรัชญาการศึกษาของเพลโตในทัศนะของพุทธปรัชญามีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของเพลโต (๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของพุทธปรัชญา และ (๓)
เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของเพลโตในทัศนะของพุทธปรัชญา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
    ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า เพลโตถือว่า ปรัชญาการศึกษาตั้งอยู่บนฐานคิดสำคัญคือเรื่องโลกแห่งแบบ มนุษย์เข้าใจโลกแห่งแบบได้ด้วยวิธีการคิดหาเหตุผล จุดมุ่งหมายการศึกษาคือการพัฒนากายและวิญญาณแห่งเหตุผลเพื่อให้มนุษย์เข้าใจโลกแห่งแบบ ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ พบว่า ปรัชญาการศึกษาของพุทธปรัชญาตั้งอยู่บนฐานความเข้าใจเรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ต้องเข้าใจธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้การกระทำทางกาย วาจา ใจ ดำเนินไปสู่จุดหมายการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่า พุทธปรัชญาเสนอว่า จุดอ่อนที่ปรากฏในปรัชญาการศึกษาของเพลโตคือ การไม่ยอมรับความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส เพราะว่าให้ความรู้ที่ไม่แน่นอน ส่วนจุดแข็งของเพลโตพุทธปรัชญามองว่าคือ          การพัฒนามนุษย์ทั้งกายและวิญญาณ
    จากการวิเคราะห์ ปรัชญาการศึกษาของเพลโตในทัศนะของพุทธปรัชญา  ผู้วิจัยเห็นด้วยกับพุทธปรัชญาในเรื่องการใช้ความรู้ทางผัสสะเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการสอนเพื่อให้เข้าใจและใช้ได้อย่างถูกต้อง และสนับสนุนปรัชญาการศึกษาของเพลโต ในประเด็นที่ส่งเสริมให้การศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนามนุษย์ทั้งทางด้านกายและวิญญาณ เพราะการพัฒนาเพียงกายไม่ส่งผลให้การกระทำของมนุษย์ดำรงอยู่ในวิถีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้วิจัยไม่เห็นด้วยกับเพลโตในประเด็นที่ลดค่าความสำคัญของความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส เพราะประสาทสัมผัสคือหนึ่งในช่องทางการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนของมนุษย์ ถ้าพัฒนาได้อย่างถูกต้องมนุษย์จะเป็นผู้ประเสริฐในหมู่ของคนที่ไม่ได้ฝึกฝน

ดาวน์โหลด


 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕