หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รัชฎาพร ธิราวรรณ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การศึกษาแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อความมีอายุยืนตามหลัก อิทธิบาท ๔
ชื่อผู้วิจัย : รัชฎาพร ธิราวรรณ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาทฤษฎีเรื่องการมีอายุยืนในวิทยาการปัจจุบัน ๒) เพื่อศึกษาเรื่องการมีอายุยืนตามหลักอิทธิบาท ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้มีอายุยืนตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสังคมไทย

              ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดการมีอายุยืนในวิทยาการปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์เป็นอวัยวะ มีปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากอาหาร น้ำและออกซิเจนภายในเซลล์เป็นพลังงานที่ทำให้อายุยืน การเจ็บป่วยมีหลายสาเหตุซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาแต่ก็ต้องจบลงตามอายุขัย แต่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์อธิบายถึงอายุยืนว่าเกิดจากพันธุ์กรรม ร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่ดี การส่งเสริมสุขภาวะให้อายุยืนด้วยสาธารณสุขว่าด้วยการบริโภคสิ่งที่ดีมีประโยชน์ งดสิ่งที่เป็นโทษอันตราย และบำรุงด้วยอาหารเสริม มีการพัฒนาจิตใจ สร้างพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ   มีการพักผ่อน   ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้อายุยืนนาน

              ในพระพุทธศาสนา ระบุว่าสิ่งที่ทำให้อายุยืน คือ ๑) ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ  ๒) รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๓) บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๔) เที่ยวในเวลาที่สมควร ๕) ประพฤติพรหมจรรย์ บางพระสูตรระบุถึงการมีศีล และการมีกัลยาณมิตร (มิตรดี) และมีธรรมที่สนับสนุนให้อายุยืนอย่างอายุสสธรรม ๕ แล้วยังมีหลักอิทธิบาท ๔  พระพุทธองค์ตรัสอำนาจของ      อิทธิบาท ๔  ถ้าปฏิบัติมาก จะมีอายุยืนยาวได้ถึง ๑๒๐ ปี

              แนวทางการปฏิบัติตนให้มีอายุยืนตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสังคมไทย การนำหลักธรรมอิทธิบาท ๔ ในพระพุทธศาสนามาบูรณาการ เพื่อช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตน ดูแล ส่งเสริมสุขภาพให้อายุยืนด้วยมิติทางศีลธรรมของศาสนา โดยนำหลักธรรมที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อการมีอายุยืน ตามหลักอิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ และวิมังสา โดยการปฏิบัติต่อร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมด้วยการรู้จักไตร่ตรอง ใช้ปัญญา อันใคร่ครวญ หาเหตุผลหรือตรวจสอบตรวจทานด้วยกระบวนการ วางแผนงาน วัดผลสำเร็จ และคิดวิธีแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบอย่างเหมาะสม การปฏิบัติตนตาม อิทธิบาท ๔ เพื่อให้มีอายุยืน สามารถทำการดูแล ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจให้มีคุณภาพซึ่งจะส่งผลให้มีอายุยืนยาวได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕