หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอำนาจ อธิมุตฺโต (เคหัง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอำนาจ อธิมุตฺโต (เคหัง) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการใช้อิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักอิทธิบาทธรรม     ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล              ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม ในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

 

ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๘๘ คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓๒ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ (Frequency)   ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุด (Least Significant Difference: LSD) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ            (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informants) จำนวน ๘ รูป/คน ซึ่งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Techniques) ประกอบบริบท (context)

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๗๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่) (=๓.๗๓) ด้านวิริยะ (ความเพียร) (=๓.๗๐)  ด้านวิมังสา (ความรอบคอบ) (=๓.๖๙) และด้านฉันทะ (ความพอใจ) (=๓.๖๘)

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดนภาพรวม พบว่า ประชาชนที่มี เพศ สถานภาพ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าเทศบาลเมืองหล่มสักจัดทำแผนงานตามความเห็นของตนเองมากกว่าที่จะนำข้อมูลและบัญหาของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานเทศบาลเมืองหล่มสักเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม เป็นส่วนน้อยประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงบประมาณในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเป็นส่วนน้อยประชาชนมีส่วนร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นส่วนน้อย

ข้อเสนอแนะ พบว่า เทศบาลเมืองหล่มสักควร มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการอย่างไร แล้วเสนอต่อคณะผู้จัดทำแผนงาน เพื่อให้เทศบาลเมืองหล่มสักกำหนดเป็นนโยบาย นโยบายถึงจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่ เทศบาลเมืองหล่มสักควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม เทศบาลเมืองหล่มสักควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงบประมาณในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เทศบาลเมืองหล่มสักควรนำปัญหาจากการดำเนินงานจากปีที่ผ่านมาปรับปรุงแก้ไขเป็นแผนในการดำเนินงานในปีถัดไป เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยแท้จริง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕