หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปริยัติสิทธิวงศ์ (สิทธิพงศ์ กิตฺติวณฺโณ/จงเพลินนภาพร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมัชฌิมาปฏิปทากับหลักวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปริยัติสิทธิวงศ์ (สิทธิพงศ์ กิตฺติวณฺโณ/จงเพลินนภาพร) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชโมลี
  ชัยชาญ ศรีหานู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษามัชฌิมาปฏิปทาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมัชฌิมาปฏิปทากับหลักวิปัสสนาภาวนา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนา-เถรวาท คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือ เอกสาร ตำรา ผลงานทางวิชาการ และรายงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง การปฏิบัติตามแนวทางสายกลาง คือ ทางที่ไม่สุดโต่ง
ไปในกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค เป็นทางปฏิบัติที่ทำให้จักษุและปัญญาได้รับการพัฒนา ทำให้กิเลสสงบระงับ ทำให้รู้ยิ่ง ทำให้รู้แจ้ง และทำให้ดับทุกข์ได้ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงความเป็นอริยบุคคลในทางพุทธศาสนาได้

หลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ด้วยการใช้วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา พิจารณากำหนดรู้ รูปนาม คือ สภาวธรรมทางกาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง รู้ถึงความเปลี่ยนแปลง แปรปรวนของสภาวธรรมว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

มัชฌิมาปฏิปทากับหลักวิปัสสนาภาวนามีความสัมพันธ์กันในด้านองค์ธรรม คือมัชฌิมาปฏิปทาสามารถสงเคราะห์องค์ธรรมเข้าในหลักวิปัสสนาภาวนา คือสติปัฏฐานได้ด้วยหลักธรรม ๕ ประการ ได้แก่ ปัญญา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ศีล และมีความสัมพันธ์ในด้านที่สนับสนุนส่งเสริมกัน คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐาน เป็นไปตามหลักอาตาปี สัมปชาโน สติมา จนดำเนินไปได้สะดวก ก็ได้ชื่อว่าเจริญมัชฌิมาปฏิปทาไปในคราวเดียวกัน เพราะเมื่อเจริญสติ อริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ย่อมได้รับการพัฒนาไปโดยลำดับ จนเป็นมัคคสมังคี จึงสามารถประหาณกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้อย่างเด็ดขาด

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕