หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาบุญช่วย พุทฺธสโร (หายะคุณ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
ศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีลที่มีผลต่อความสุขของอุบาสกอุบาสิกา สำนักปฏิบัติธรรมวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาบุญช่วย พุทฺธสโร (หายะคุณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชโมลี
  ชัยชาญ ศรีหานู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีลที่มีผลต่อความสุขของอุบาสกอุบาสิกา สำนักปฏิบัติธรรมวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการรักษาศีลที่มีผลต่อความสุขของอุบาสกอุบาสิกา สำนักปฏิบัติธรรมวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจงจากอุบาสกอุบาสิกาที่รักษาศีลและปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๔๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๙ สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนสถิติที่ใช้ศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ สถิติการทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square : )  ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า

ระดับความสุขในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมีความสุขมาก โดยพบว่าส่วนใหญ่รู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นเมื่อมีโอกาส และสมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันต่อกัน การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเคยและไม่เคยรักษาศีลกับความสุขในชีวิต พบว่าการเคยและไม่เคยรักษาศีลทุกข้อมีความสุขในชีวิตที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะและอุปสรรคในการสร้างความเชื่อและความสนใจในการปฏิบัติธรรมของผู้สวดสาธยายพระไตรปิฎก ณ วัดไร่เกาะต้นสำโรง ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน และรู้สึกว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์ จนบางครั้งรู้สึกผิดหวังในตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อมีเหตุการณ์คับขันหรือร้ายแรงเกิดขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕