หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริธนสาร [สมบัติ ฐิตธมฺโม (เพ็งขัน)]
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
ศึกษาหลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริธนสาร [สมบัติ ฐิตธมฺโม (เพ็งขัน)] ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธวรกิจจานุการ
  เสนาะ ผดุงฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักสาราณียธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาความสามัคคีในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาหลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษามีดังนี้

             ๑) ด้านหลักสาราณียธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า หลักสาราณียธรรม ๖ ประการ ได้แก่ การมีเมตตากายกรรม มีเมตตาวจีกรรม มีเมตตามโนกรรม การรู้จักแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ต้องมีศีล และจะต้องมีความเห็นที่ดีงามเสมอเหมือนกับผู้อื่น โดยสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่ ความระลึกนึกถึงกันด้วย จะเห็นว่าเมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์เกิดความพร้อมเพรียงกัน ชื่นชม ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำกลมกลืนกับน้ำนมมองดูกันและกันด้วยสายตาที่รักกันอยู่ การบาดหมางกัน การข่มขู่กัน การขับไล่กัน ย่อมไม่เกิดขึ้น อีกทั้งทำให้ประชาชนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส ส่วนผู้ที่เสื่อมใสแล้วก็จะเลื่อมใสกันมากยิ่งขึ้น

             ๒) ด้านความสามัคคีในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท พบว่า เหตุแห่งความสามัคคี หมายเอาการตั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายและคนทั้งหลายในสังคม โดยไม่ถือว่าตนเป็นใหญ่กว่าคนอื่น ให้เกียรติให้ความสำคัญต่อผู้อื่นด้วยจึงจะถือว่าได้บำเพ็ญสามัคคีธรรม ความสามัคคีเป็นการแสดงออกซึ่งการร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามัคคีต้องอาศัยความอดทน เสียสละความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และตระหนักในปัญหาร่วมกัน ความสามัคคีจะก่อให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันและก็สามารถปฏิบัติงานทุกอย่างได้สำเร็จคุณลักษณะของความสามัคคี

             ๓) ด้านหลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าการศึกษาและปฏิบัติตามหลักสามัคคีโดยการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน ปรึกษากัน และให้อภัยกัน ก็จะช่วยส่งผลโดยตรงให้สังคมมีแต่ความสงบร่มเย็น เป็นบ้าน เป็นชุมชนสังคม เป็นประเทศชาติที่น่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นด้วยผลแห่งสามัคคี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕