หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กิตติศักดิ์ ตุงคนาคร
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : กิตติศักดิ์ ตุงคนาคร ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุศรา โพธิสุข
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ /มีนาคม/ ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านตำบล          ป่าบง จำนวน ๒๖๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน            การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการทดสอบค่า (F- test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ รูป/คน โดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

    ๑) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๕,            S.D. = ๐.๖๓๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๔, S.D. = ๐.๕๖๙) ด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๔, S.D. = ๐.๗๐๑) ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๙๒, S.D. = ๐.๗๓๐) ด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๔, S.D. = ๐.๖๕๓) ด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๘, S.D. = ๐.๗๓๒) ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๐,                S.D. = ๐.๘๓๕)             

              ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านตำบลป่าบง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญอยู่ทีระดับ ๐.๐๑ ส่วนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านตำบลป่าบงที่มี เพศ สถานภาพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนเงินที่กู้ยืม ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน วัตถุประสงค์และเหตุผลการขอกู้ยืมเงินต่างกัน สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านตำบลป่าบงไม่แตกต่างกัน

 

            ๓) ปัญหา อุปสรรค พบว่า เงินที่ให้สมาชิกกู้ยืมไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกกองทุน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารและบัญชีการเงินของกองทุนหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะ พบว่า รัฐบาลควรกระจายงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น ควรมีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารและบัญชีการเงินแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้าน

            ๔) นำเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ควรจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการทำงานให้แก่คณะกรรมการได้เข้าใจในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สมาชิกได้เข้าใจในกระบวนการกู้เงินและคืนเงินกองทุน                ตามกำหนดระยะเวลาของกองทุน ควรมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน เพื่อให้มีการบริหารงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕