หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระรณฤทธิ์ ฐิตทยาลุ (วินทะชัย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย : พระรณฤทธิ์ ฐิตทยาลุ (วินทะชัย) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  ยุทธนา ปราณีต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบลำดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์  

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๒๐๑ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๔๐๕ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ คือค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ           ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๗ รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๖๒) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านกายภาวนา ด้านสีลภาวนา ด้านจิตตภาวนา และด้านปัญญาภาวนา พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และตำแหน่ง พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕       จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย สำหรับรายได้ต่อเดือน ด้านกายภาวนา มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ปัญหาเรื่องระยะเวลาของการทำงานและชั่วโมงเร่งด่วนในการทำงานหรือชีวิตการทำงานมีมากขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาพอในการพัฒนาทางด้านต่างๆ    การจัดกิจกรรมที่ไม่ต่อเนื่อง ความไม่พร้อมของตัวบุคลากรเองซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ สภาพแวดล้อมของการทำงานที่ไม่เพียงพอและเหมาะสม การไม่ตระหนักถึงการกระทำที่อาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น การรับรู้ข่าวสารที่ไม่มีมูลส่งผลให้การคิดวิเคราะห์แยกแยะความจริงเป็นปัญหาต่อการทำงานและภาพรวม การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาอันเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการใช้ชีวิตของการทำงานและครอบครัว การได้เจริญและพัฒนาในทุกๆ ด้านไม่เพียงพอ

ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหาร    ส่วนตำบลในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ควรให้มีการฝึกอบรมพฤติกรรม ทัศนคติ          และแนวคิดที่เกิดประโยชนต่อองค์กร และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเพิ่มกิจกรรมทางพุทธศาสนาให้ครบทุกด้าน    หลักพุทธศาสนาเป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการทำงาน การพัฒนาทางด้านจิตใจ และปัญญา ให้เป็นผู้มีจิตใจที่เป็นสาธารณะช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน ประกอบด้วยเมตตา กรุณา   ให้นำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของบุคลกรและการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและสนองความต้องการทางจิตใจของตนเอง ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า การมีสภาวะกายภาพที่ดีมีความสัมพันธ์กันในทุกส่วนเป็นอย่างดีก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งการระวังการกระทำทางกายในการแสดงออกซึ่งนำไปสู่การติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การไม่เบียดเบียนกล่าวร้ายผู้อื่นไม่กระทำการใดๆ อันก่อความเดือนร้อนให้แก่ผู้อื่น          การบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น มีจิตใจที่เข้มแข็ง พัฒนาจิตใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรมการฝึกสร้างนิสัยที่ดี การเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงรู้เท่าทันเหตุการณ์พัฒนาปัญญาอยู่ตลอดเวลา การใช้หลักเหตุผลในการคิดวิเคราะห์ ล้วนมาจากการฝึกอบรมที่ต่อเนื่องเกิดปัญญาที่สามารถพัฒนาตนได้อย่างสมบูรณ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕