หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสังขพงศ์ ชมภู
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การให้บริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นายสังขพงศ์ ชมภู ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวชิรคุณพิพัฒน์
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ขึ้นไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๓๗๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants) จำนวน ๙ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=๓.๓๕) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านอัตถจริยา การให้บริการที่เป็นประโยชน์ (= ๓.4๑) ด้านปิยวาจา การให้บริการด้วยการพูดจาไพเราะ       (= ๓.๓๓) ด้านสมานัตตตา การให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ (= ๓.๓๓) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านทาน การเอื้อเฟื้อแบ่งปันการให้บริการ (= ๓.๓๒)

 

๒) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของประชาชนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ไม่แตกต่างกัน ส่วนอาชีพของประชาชนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้คำแนะนำและข้อมูลอย่างชัดเจน พูดด้วยถ้อยคำที่ไม่ค่อยสนใจผู้ขอรับบริการ บางครั้งไม่ให้เกียรติผู้ขอรับบริการ เมื่อผู้รับบริการเกิดความรู้สึกไม่พอใจก็ไม่พูดชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ ทั้งความสะดวกแก่ผู้ที่ไปติดต่อราชการยังไม่ดีพอ เช่น บริการน้ำดื่ม, มุมหนังสือพิมพ์เอกสารประชาสัมพันธ์ ห้องน้ำ เป็นต้น ทำให้ผู้รับบริการเกิดปัญหาในการขอรับบริการ

ข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชรพบว่า เจ้าหน้าที่ควรปฏิบัติต่อทุกคนให้เท่าเทียมกัน เสมอต้นเสมอปลายกับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงฐานะ มีความสนใจเอาใจใส่ให้บริการประชาชนด้วยความถูกต้อง และเป็นธรรม รักในการบริการด้วยความเต็มใจ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวานและควรมีการจัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ทุกท่านในอบต. ในหัวข้อการให้บริการประชาชน การติดต่อประสานงานที่มีประสิทธิภาพอีกทั้งควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่ทำการ อบต. เช่น มีที่จอดรถหรือห้องน้ำที่สะอาด มีบริการแจกบัตรคิวเพื่อความเสมอภาคแก่ประชาชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕