หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเอกอาทิตย์ สิทฺธิเมธี (ลือโชติ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเอกอาทิตย์ สิทฺธิเมธี (ลือโชติ) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  รัฐพล เย็นใจมา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๓๙๙ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒๕๖,๐๕๑ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๐ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดับการพัฒนาของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านอุฏฐานสัมปทา ด้านอารักขสัมปทา ด้านกัลยาณมิตตตา และด้านสมชีวิตา พบว่า ประชาชนมีระดับการพัฒนาต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ด้านสมชีวิตา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.๓๒) ส่วนด้านที่เหลืออยู่ในระดับมาก

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับการพัฒนาของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีระดับการพัฒนาต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อระดับการพัฒนาของประชาชน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พบว่า ๑ ประชาชนในชุมชนมีการว่างงาน ประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือในการประกอบอาชีพ เช่น การตั้งร้านขายของยังไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร ๒) สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดี บวกกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จากปัญหาขยะมูลฝอยในแหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ๓) เด็ก เยาวชน และประชาชนเลือกคบเพื่อนไม่ดี ก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดในเด็กวัยเรียน เยาวชน และประชาชน รวมทั้งประชาชนวัยแรงงานมีความต้องการเรียนต่อ เพื่อเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ เนื่องจากขาดความรู้ ทักษะ และความชำนาญในการประกอบอาชีพ ๔) ประชาชนขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ประชาชนมีทรัพย์สินและที่ดินในการทำกินน้อย เป็นภาระในการเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่  เทศบาลมีการเน้นการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เพื่อการพาณิชย์ โดยไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืนของชุมชน

ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีพุทธในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พบว่า ๑) ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรมความรู้ และการประกอบอาชีพให้ประชาชน เช่น โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในที่สาธารณะ เช่น การอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ (จุดผ่อนผัน) ๒) ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการเก็บออม เช่น การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ควรมีแนวทางการพัฒนาบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย และมลพิษต่างๆ ๓) ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการรณรงค์ ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อเสริมความรู้และทักษะในชั้นวิชาชีพ ๔) ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่และให้โอกาสประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นรวมทั้งสนับสนุนให้มีการประชาพิจารณ์ตามควรแก่กรณี ควรมีแนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนที่ดินทำกิน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความพออยู่   พอกิน สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว ควรมีแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕