หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชาลินี แคล้วโยธา
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ชาลินี แคล้วโยธา ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อานนท์ เหล็กดี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ จำนวน ๑,๑๗๘ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน ( Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติอ้างอิงคือการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลความแปรปรวนทางเดียว F-test (One Way ANOVA)

 

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

 

) การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนหลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ โดยจำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับการศึกษา และตำแหน่ง พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ ควรมีการกำหนดมาตรการการนิเทศ ติดตาม อย่างเป็นระบบและจริงจัง ควรมีการกำหนดมาตรการแก้ปัญหาความรับผิดชอบต่อการสอนของครู การจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามแผนงาน / โครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕