หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » โชติกา ประเสริฐ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
แนวทางการนิเทศภายในของครูผู้สอน ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ใน สถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : โชติกา ประเสริฐ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ปฏิธรรม สำเนียง
  อานนท์ เหล็กดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในของครูผู้สอน ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต ๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในของครูผู้สอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน ๓) เพื่อเสนอแนวทางในการวางแผนพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

 

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณโดยการสำรวจและเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ในอำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ซึ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน ๑๙ คน เป็นครูผู้สอน จำนวน ๑๙๕ คน รวมทั้งหมด จำนวน ๒๑๔  คน  ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยพิจารณาจากจำนวนประชากร ทั้งสิ้น จำนวน ๔๘๐ คน เพื่อให้ได้ข้อมูลมีลักษณะกระจาย ให้สัมพันธ์กับสัดส่วนของประชากร โดยใช้สถานศึกษาเป็นเขตพื้นที่ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน ๗ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics ) ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติอ้างอิง คือ การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (f-test) และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) สภาพการนิเทศภายในของครูผู้สอน ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย(= ๔.๑๔, S.D. = .๕๗ ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ มีค่าเฉลี่ย (= ๔.๑๙, S.D. = .๖๒ ) รองลงมา คือ ด้านการจัดระบบการเรียนการสอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๘, S.D. = .๖๒) ด้านการพัฒนาหลักสูตรตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๘, S.D. = .๖๑) ด้านการบริหารบุคลากรตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๘, S.D. = .๕๘) ด้านการจัดบริการพิเศษแก่นักเรียนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๗, S.D. =      .๖๘) ด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๓, S.D. = .๖๓)  ด้านสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๓, S.D. = .๖๓) ด้านการฝึกอบรมครูประจำการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๓, S.D. = .๖๔) ด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์/สื่อการสอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๑๐, S.D. = .๖๓) และด้านการปฐมนิเทศครูตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ (= ๔.๐๘, S.D. = .๖๕) ตามลำดับ

๒) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในของครูผู้สอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวการนิเทศภายในของครูผู้สอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิตที่ .๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวการนิเทศภายในของครูผู้สอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิตที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐาน

 

๓) แนวทางการนิเทศภายในของครูผู้สอน ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ในสถานศึกษา อำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ พบว่า ด้านการปฐมนิเทศครูใหม่ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขาดการมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถของครูแต่ละคน(ทาน) ดังนั้น จึงควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของครูแต่ละคน ด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์/สื่อการสอนตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ยังไม่มีการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน(ทาน) เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องงบประมาณในการเลือกซื้อสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงควรมีการจัดหางบประมาณในการจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนให้กับครู เพื่อที่จะให้ครูมีสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน และด้านการฝึกอบรมครูประจำการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขาดการพัฒนาและการฝึกอบรมและการฝึกอบรมครูเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรการพัฒนาผลงานทางวิชาการและความก้าวหน้าในวิชาชีพ (ปิยวาจา) ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมที่หลากหลายในวิชาชีพมากยิ่งขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕