หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐดนย์ โกศลพิศิษฐ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
ผลของหลักธุดงควัตรต่อคุณภาพชีวิตของคฤหัสถ์ : กรณีศึกษาบุคลากรบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐดนย์ โกศลพิศิษฐ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญฺ)
  ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              งานวิจัยเรื่อง ผลของธุดงควัตรต่อคุณภาพชีวิตของคฤหัสถ์ : กรณีศึกษาบุคลากรบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและของการประยุกต์หลักธุดงควัตรของคฤหัสถ์ ๒) ศึกษาความแตกต่างในระดับคุณภาพชีวิตและการประยุกต์ใช้หลักธุดงควัตรของคฤหัสถ์ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และ ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและการประยุกต์ใช้หลักธุดงควัตรเพื่อการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในระดับต่างๆจำนวน ๓๐๐ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจำนวน ๙ ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, one-way ANOVA ตามด้วย LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน              

              ผลการวิจัยพบว่า

              ๑) หลักคุณภาพชีวิตและธุดงควัตรตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท

 

              หลักคุณภาพชีวิตในพุทธศาสนาประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา หลักธุดงควัตรเป็นหลักปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อมุ่งประพฤติพรหมจรรย์ มี ๑๓ ข้อ คือ ๑) ถือผ้าบังสุกุล ๒) ทรงเพียงไตรจีวร ๓) เที่ยวบิณฑบาต ๔) บิณฑบาตไปตามลำดับ ๕) นั่งฉันอาสนะเดียว ๖) ฉันเฉพาะในบาตร ๗) ห้ามภัตรที่เขานำมาถวายภายหลัง ๘) อยู่ป่า ๙) อยู่โคนไม้ ๑๐) อยู่ที่แจ้ง ๑๑) อยู่ป่าช้า ๑๒) อยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ และ ๑๓) นั่งเป็นวัตร(เว้นนอน) ส่วนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับธุดงควัตร คือ สันโดษในปัจจัยพื้นฐานเท่าที่จำเป็นและเป็นคุณค่าแท้  อยู่อย่างง่าย ซึ่งมีพัฒนาการเช่นเดียวกับความต้องการทางจิตวิทยาที่พัฒนาไปจากมุ่งแรงจูงใจภายนอก (D-Motive) ไปสู่การจูงใจภายใน (B–Motive) เพื่อความเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้                       

 

            ๒) ระดับคุณภาพชีวิตและการประยุกต์หลักธุดงควัตร                                         กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นคฤหัสถ์เพศหญิง (๗๖.%) อายุระหว่าง ๔๑-๕๐ ปี(๓๘.%) ปริญญาตรี (๕๗.%) แผนกปฏิบัติการ (๘๖.%) ประสบการณ์การทำงาน ๑๑-๒๐ ปี (๔๕.%)แผนกบรรจุภัณฑ์ (๖๐.%) รายได้ต่อเดือน ๑๕,๐๐๑-๒๕,๐๐๐ บาท (๔๕. %)                          กลุ่มตัวอย่างรับรู้คุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง ( = .๐๘) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สามารถเรียงลำดับ ระดับคุณภาพชีวิตจากมากไปหาน้อยคือ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านรู้คิด และด้านกายภาพ ตามลำดับ ( = .๕๕,.๐๒,.๐๐ และ ๒.๙๔)  กลุ่มตัวอย่างรับรู้การประยุกต์หลักธุดงควัตรโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับจากระดับมากไปหาน้อยคือ ด้านการบริหารการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมตามลำดับ ( = .๐๖,.๐๕, .๙๑, .๘๑,.๔๕)                                           ระดับความแตกต่างพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ที่มีเพศและแผนกงานแตกต่างกัน รับรู้ความแตกต่างในคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑  ขณะกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในอายุ สถานภาพสมรส การศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความแตกต่างในคุณภาพชีวิต ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่าง ในอายุและแผนกงานรับรู้ความแตกต่างในการประยุกต์หลักธุดงควัตรที่ระดับ ๐.๐๕ และ ๐.๐๑ ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความแตกต่าง ในระดับการประยุกต์ใช้หลักธุดงควัตร ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าวินัยในตนเอง การควบคุมตนเอง แรงจูงใจภายใน มีความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและความสำเร็จในระดับสูง

          ๓) มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต ด้ายกาย สังคม จิตใจ ปัญญา กับการประยุกต์หลักธุดงควัตรเพื่อการดำเนินชีวิต ด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม การเมืองการปกครอง และการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๑

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕