หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิทิตปริยัติคุณ (หิริธมฺโม/ตอบกลาง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๓ ครั้ง
การแก้ไขปัญหากระบวนการผาติกรรมในสังคมไทย :กรณีศึกษาอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่ ๒๕๓๐-๒๕๔๙(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิทิตปริยัติคุณ (หิริธมฺโม/ตอบกลาง) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  นายรังษี สุทนต์
  นายยงยุทธ จันทร์ตรี
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

       วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกากฎหมาย และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ข้อ คือ

๑.การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการจัดทำผาติกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท
๒.คึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคกระบวนการทำผาติกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน
๓.เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาของกระบวนการทำผาติกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน
      ผลการวิจัยพบว่า ทรัพย์สินของสงฆ์มีได้เพราะผู้มีจิตศรัทธาน้อมนำมาบริจาคถวาย
ตามหลักพระวินัย เมื่อทรัพย์สินมีมากขึ้น ทรัพย์สินที่เป็นของส่วนตัว พระองค์ทรงอนุญาตให้ผาติกรรมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนสหธรรมิกทั้ง ๕(ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ครุภัณฑ์ที่เป็นของสงฆ์อนุญาตให้ผาติกรรมแลกเปลี่ยนกับคฤหัสถ์ด้วยความสมัครใจ เต็มใจทั้งสองฝ่าย เป็นวัตถุสิ่งของที่เท่ากัน หรือมากกว่า โดยไม่เกี่ยวข้องด้วยเงินตราแต่ประการใดถ้าสงฆ์ คณะ บุคคล จำหน่ายของสงฆ์ไปให้เป็นสิทธิ์ขาด ทำไปด้วยอำนาจเหนือสงฆ์ ประจบคฤหัสถ์ ด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการล่วงละเมิดพุทธบัญญัติ ปรับอาบัติตามวัตถุ เป็นมหา
โจรปล้นศาสนาให้ไล่เธอออกไปจากหมู่คณะเสียสภาพปัญหา และสาเหตุของกระบวนการเวนคืน(ผาติกรรม) ในสังคมไทยปัจจุบันเกิดจากความต้องการทรัพย์ของสงฆ์ไปสร้างสาธารณูปโภคอันเป็นประโยชน์ส่วนรวมของ
รัฐจึงได้ตราเป็นกฎหมายมาบังคับเวนคืนทรัพย์สินของสงฆ์ และได้ชดใช้ ทดแทน เงินให้แก่สงฆ์ เพื่อเยียวยาที่ได้บังคับเวนคืน มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายบ้านเมือง คณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมมีมติให้ความเห็นชอบออกเป็นกฎระเบียบให้เก็บรักษาเงินผาติกรรมไว้ให้คงอยู่เหมือนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปการแก้ไขปัญหากระบวนการทำผาติกรรมในสังคมไทยในปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบผาติกรรมตามแนวพระพุทธศาสนา และกฎหมาย พร้อมทั้งได้นำบทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ตีความ แยกออกเป็น ๒ ประเด็น คือ
๑.การแก้ไขปัญหาตามแนวพุทธศาสนาต้องทำบันทึกข้อได้เปรียบ–เสียเปรียบต่าง ๆกับคู่กรณีผ่านขั้นตอนนี้แล้วเสนอรัฐสภาร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินของวัดประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป
๒.เมื่อรัฐบังคับเวนคืนที่ดินของสงฆ์ผ่านกระบวนการตามกฎหมายแล้ว รัฐจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติโอนที่ดินของวัดให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้น ๆตามหลักกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ทรัพย์สินของสงฆ์เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา ได้มาโดยผู้มีจิตศรัทธาน้อมนำมาบริจาคถวาย ตามหลักพระวินัย เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการศาสนาโดยส่วนรวมเมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะนำทรัพย์สินของสงฆ์ไปสร้างสาธารณูปโภค สงฆ์จึงต้องคล้อยตามฝ่ายบ้านเมืองโดยปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
Download : 255147.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕