หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มนตรี ทองสัมฤทธิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ความเชื่อในการปฏิบัติพิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : มนตรี ทองสัมฤทธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                  

 

             วิทยานิพนธ์เรื่องความเชื่อในการปฏิบัติพิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบพิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย  ) ศึกษาความเชื่อและความหมายเชิงพุทธจิตวิทยาที่ปรากฏ ในการปฏิบัติพิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย ) เพื่อเสนอทางออกในการประยุกต์หลักจิตวิทยาเชิงพุทธ ต่อความเชื่อในการปฏิบัติพิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญ พระภิกษุ พระเกจิอาจารย์ โหราพราหมณ์ หมอครู ราชครู ปราชญ์ชาวบ้านทางด้านพิธีกรรม ครูผู้ประกอบพิธีกรรม

 

              ผลการวิจัยพบว่า

             พิธีกรรมไหว้ครูภาคกลางของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีของศิษย์ ที่มีต่อคุณธรรมของครูในปัจจุบัน และในอดีต โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบรมครูที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย โดยพิธีไหว้ครูประกอบด้วย พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมที่ได้อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องบูชาตามหลักพุทธศาสนา และเครื่องเซ่นสังเวยตามระเบียบปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และตามประเพณีไทย โดยหลักปฏิบัติประกอบด้วยหลักปฏิบัติทางกาย ทางสังคม ทางจิตใจ และปัญญา ซึ่งมีพื้นฐานตามขั้นตอนไตรสิกขาอันเป็นกระบวนการตามอริยมรรคมีองค์ ๘

             หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ๑) หลักธรรมทั่วๆ ไปที่แสดงถึงกระบวนธรรมในการพัฒนา คือสิกขา ๓ ภาวนา ๔ และมรรคมีองค์ ๘ ๒) หลักที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมของครู คือ พรหมวิหาร ๔ สังคหะวัตถุ ๔ ลีลาครูหรือเทศนาวิธี ๔ สัปปุริสธรรม ๗ และกัลยาณมิตรธรรม ๗ รวมทั้ง ๓) คุณธรรมฝ่ายศิษย์ คือคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ หลักทิศ ๖ อิทธิบาท ๔ สัมมัปปทาน ๔ อนุรักษ์สัมปทาน ๔ และปัญญาวุฒิธรรม ๔

             บทผลสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า

             ปราชญ์ผู้ให้สัมภาษณ์ต่างระบุวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน คือเพื่อการแสดงการบูชาพระคุณครูและการเพิ่มพูนบารมีของครู โดยมีขั้นตอนผสมผสานระหว่างขั้นตอนตามไตรสิกขาในพุทธศาสนาและพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ อุปกรณ์ที่ใช้มีการผสมผสานระหว่างอุปกรณ์ตามแบบพิธีกรรมพุทธ พราหมณ์-ฮินดู รวมทั้งพิธีกรรมตามประเพณีไทย ระเบียบวิธีปฏิบัติสอดรับกับ วิธีการดำเนินชีวิตตามไตรสิกขา โดยหลักธรรมมีทั้งส่วนหลักธรรมเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนา คุณธรรมของครู และคุณธรรมของศิษย์

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕