หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทองล้วน ดวงแพงมาตร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การใช้ตัวแบบทางสังคมประกอบวิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ประสบการณ์จากบ้าน วัด โรงเรียน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมตามแนววิถี พุทธของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านเขวา อำเภอ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย : ทองล้วน ดวงแพงมาตร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุธีคัมภีรญาณ
  ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              ในการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ตัวแบบทางสังคมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการบ้าน วัด โรงเรียน แก่นักเรียนบ้านเขวา ๒) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ในการพัฒนาพฤติกรรมตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนบ้านเขวา ๓) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะการใช้ตัวแบบทางสังคมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการบ้าน วัด โรงเรียนในการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านเขวา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) ผลการวิจัยพบว่า

 

              การเรียนรู้โดยการสังเกต จึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา (Cognitive Processes) การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling) การเรียนรู้พฤติกรรมสำคัญต่างๆ ทั้งที่เสริมสร้างสังคม (Prosocial Behavior) และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม (Antisocial Behavior) ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริงๆ เช่น ผู้ปกครอง ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย ๒ ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และผู้นำในสังคมประเทศชาติและศิลปิน ดารา บุคคลสาธารณะ ผู้นำหมู่บ้านหรือชุมชน ยิ่งต้องตระหนักในการแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพราะย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมนั้นๆ

 

              ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนบ้านเขวากล่าวถึงแผนการที่จะปฏิบัติ วิธีการ รูปแบบพฤติกรรม การกำหนดตำแหน่งที่จะปฏิบัติการ และ ทัศนวิสัย ในการพัฒนา ซึ่งในที่นี้หมายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ปัจจัยหลัก (Core factor) ของการพัฒนาทั้งปวง กำหนดตำแหน่งสำคัญของการพัฒนาไว้ที่ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งรวมถึงกายกับใจ (Mater& Mind) พุทธศาสตร์มีองค์ความรู้ที่กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาได้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวพุทธศาสตร์จึงเริ่มต้นที่ การศึกษา (Learn) ให้มีสติปัญญาหรือสัมมาทิฐิเป็นขั้นตอนแรก แล้วจึงเข้าสู่ขั้นการพัฒนาพฤติกรรมตามระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ศีลธรรม และจิตใจ เป้าหมายคือ สังคมพัฒนาในทางด้านที่ถูกต้อง จบสิ้นขบวนการที่สังคมของอารยชนในที่สุด ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพฤติกรรมตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนบ้านเขวา เป็น ๒ ด้านหลัก คือ ๑) การนำหลักธรรมไปบูรณาการสอนแทรกในรายวิชากลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำปี การฝึกสมาธิแผ่เมตตา การฝึกศาสนพิธี การเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เข่น มาฆบูชา วิสาขบูขา อาสาฬหบูชา เข้าพรรษา ๒) การนำหลักธรรม (บ้าน วัด และโรงเรียน) มาประสานกันทำกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรมแก่นักเรียนทั้ง ๓ หลักร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการแก้ปัญหาโดยกำหนดให้เป็นตัวแบบแก่เด็กและเยาวชนในการดำเนินชีวิต

          การพัฒนาพฤติกรรมของเยาวชนให้เป็นคนเก่ง คนดีและรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้นั้น  จากการศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะการใช้ตัวแบบทางสังคมมาประกอบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการบ้าน วัด โรงเรียน ในการพัฒนาพฤติกรรมของเยาวชนให้เป็นคนเก่ง คนดีและรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าแก่ตนเองและสังคมนั้น การนำหลัก บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน มาร่วมกันส่งเสริมคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชนในรูปแบบ บ้าน ผู้ปกครองต้องเป็นตัวแบบที่ดี วัดต้องส่งเสริมศีลธรรมในรูปแบบต่างๆ  โรงเรียนโดยผู้บริหารและครูต้องประพฤติเป็นต้นแบบให้เด็กและเยาวชนได้ซึมซับเอาไปเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕