หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กรภพ สีสัน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของรตนปริตรที่มีต่อสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : กรภพ สีสัน ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโสภณปริยัติสุธี
  ประยงค์ จันทร์แดง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของรตนปริตรที่มีต่อสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระปริตร ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในรตนปริตร ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของรตนปริตรที่มีต่อสังคมไทย ผลการศึกษาวิจัย ดังนี้

ผลจากการศึกษาพบว่า พระปริตรมีเหตุเกิดขึ้นเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ปรากฏในพระไตรปิฎก ๗ ปริตร มิลินทปัญหา ๖ ปริตร และอรรถกถา ๘ ปริตร แต่งขึ้นใหม่ ๓ ปริตร เรียงตามลำดับ ดังนี้ มงคลสูตร รตนปริตร เมตตปริตร ขันธปริตร วัฏฏกปริตร อังคุลิมาล อาฏานาติยปริตร ธชัคคปริตร    โมรปริตร โพชฌงคอภยปริตร ชยปริตร ปัจจุบันเรียกว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน

รตนปริตร พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระอานนท์เรียน สวด ประพรมน้ำมนต์ แม้พระองค์ก็สวดด้วย จึงเกิดความสวัสดีแก่ชาวเมืองเวสาลี บทพระปริตรเป็นรูปแบบคาถาผสมกัน ๔ ฉันท์ คือ อินทรวิเชียร อุเปนทรวิเชียร วังสัฏฐะ และอินทรวงศ์ ส่วนนื้อหาหลักธรรมสำคัญ คือ เมตตา ความไม่ประมาท สมาธิ ทาน อริยสัจ สังโยชน์ อภิฐาน กรรม นิพพาน และคารวะ มีคำสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ เช่น ภูต รัตนะ บุคคล ๑๐๘ สัตบุรุษ ภพ อบาย กรรม พืช รวมอยู่ในบทรตนปริตรนี้ ด้านอานุภาพสามารถอานุภาพป้องกันภัยและทำให้เกิดสวัสดี

รตนปริตรมีคุณค่าต่อคตินิยมความของสังคมไทย ดังนี้ (๑) ด้านประเพณีและพิธีกรรม อาศัยรตนปริตรจึงมีคุณค่าทั้งผู้ประกอบพิธีและร่วมพิธี โดยเฉพาะการทำน้ำมนต์ (๒) ด้านความเชื่อ เรื่องอานุภาพพระรัตนตรัย การให้ผลของกรรม ความเป็นสิริมงคล อานิสงส์การบูชา เชื่อว่าให้ผลจริงตามหลักคำสอน (๓) ด้านผลของการสวด ทำให้เกิดความสบายใจ ความสวัสดี ความสามัคคี บำบัดโรคได้  (๔) ด้านบุญกิริยาวัตถุ ทำให้เกิดบุญได้ ๑๐ ประการ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕