หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระต้นหอม เตชธมฺโม (ใจตรง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ศึกษารูปแบบการสอนวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรม วัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์
ชื่อผู้วิจัย : พระต้นหอม เตชธมฺโม (ใจตรง) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุณชญา วิวิธขจร
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบการสอนวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษารูปแบบการสอนวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ตลอดจนหนังสือตำราเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมนำมาเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา แล้วตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

             รูปแบบการสอนวิปัสสนาภาวนาที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท พบว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนโดยอาศัยผู้ฟังเป็นสำคัญ คือ สอนตามจริต อุปนิสัย และอินทรีย์ของแต่ละบุคคล หลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ รูปแบบการปฏิบัติเพื่อพัฒนาปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นไปของรูปและนามที่ปรากฏในขณะปัจจุบัน โดยความเป็นไตรลักษณ์ ด้วยวิธีการปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือ การมีสติรับรู้ตั้งมั่นในกายที่เกิดขึ้นเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติรับรู้ตั้งมั่นในเวทนาที่เกิดขึ้นเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติรับรู้ตั้งมั่นในจิตที่เกิดขึ้นเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติรับรู้ตั้งมั่นในธรรมที่เกิดขึ้นเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา       สติปัฏฐาน

          รูปแบบการสอนวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน ได้ดำเนินตามแนวทางการสอนของพระโสภณะมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา มีสติจดจ่อในสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือกาย เวทนา จิต และธรรม มีสติกำหนดรับรู้ในอิริยาบถใหญ่ทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน พร้อมทั้งอิริยาบถย่อย โดยขณะปัจจุบันให้มีสติกำหนดติดต่อ ต่อเนื่องกันไปไม่ให้ขาดสาย และการกำหนดรู้อาการของต้นจิต โดยมีการสอบอารมณ์เพื่อแก้ไขสภาวะอารมณ์ต่างๆ เป็นการปรับอินทรีย์ให้สมดุล การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจะได้พัฒนาก้าวหน้าจนเข้าสู่วิปัสสนาญาณระดับต่างๆ กระทั่งบรรลุมรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพานในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕