หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดธนา ชินทตฺโต (ชินทนาม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดธนา ชินทตฺโต (ชินทนาม) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
  ธีระศักดิ์ บึงมุม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔  ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔  ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษา  และประสบการณ์ในการทำงาน และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม ๑) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔  ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  จำนวน  ๔๗๓ คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .๙๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และด้วยการทดสอบค่าที (t–test แบบ Independent sample) ใช้ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’ method) ๒) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน คน และครูผู้สอน จำนวน ๖ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุป

             ผลการวิจัย พบว่า :

             ๑. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักอิทธิบาท ๔ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท ๔ และด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักอิทธิบาท ๔ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔

             ๒. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

             ๓. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดังนี้ ๑) ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ พัฒนาบุคลากรให้มีใจรักในสายวิชาการ จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับบุคลาการทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานที่ ๒) ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักอิทธิบาท ๔ ไตร่ตรองในการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า มีการจัดทำแผนการดำเนินงานด้านงบประมาณประจำปี มีการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแผนงานที่วางไว้  มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ๓) ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท ๔ ควรมีการพิจารณาความสามารถของบุคลากรและมอบหมายงานตามความถนัด ในสาระการเรียนรู้ที่ได้จบการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับตัวผู้เรียน และ ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักอิทธิบาท ๔ ควรอาศัยความพอใจ ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ความรับผิดชอบ พิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบในการดำเนินงาน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

ดาวน์โหลด 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕