หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กฤต ศรียะอาจ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตรีภาวะสัมพันธ์ในปรัชญาของคานธี ในฐานเป็นรากฐานะของสันติภาพ
ชื่อผู้วิจัย : กฤต ศรียะอาจ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
  พระศรีรัตโนบล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 ดุษฎีนิพนธ์เรื่องตรีภาวะสัมพันธ์ในปรัชญาของคานธี ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเรื่องสันติภาพของมหาตมะ คานธี ๒)เพื่อศึกษาแนวคิดตรีภาวะสัมพันธ์ในปรัชญาของมหาตมะ คานธี ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดตรีภาวะสัมพันธ์ของมหาตมะ คานธี ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

             ผลการศึกษา พบว่า  

             สันติภาพของคานธี คือการปรองดองกันในสังคมทุกชนชั้น มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ที่สำคัญทุกคนจะต้องมีจิตสำนึก และความรู้สึกที่ เอื้อเฟื้อ อภัย และ อดทน ด้วยสังคมถึงจะสงบสุขและเกิดสันติภาพอย่างแท้จริง ความสงบสุขและสันติภาพนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นธรรมในสังคม และความเป็นธรรมนั้นก็เกิดจากตรีภาวะสัมพันธ์ แนวคิดตรีภาวะสัมพันธ์ในปรัชญาของมหาตมะ คานธี ประกอบด้วยการต่อสู้แบบสัตยาเคราะห์ เอกทศวัตร และการทำงานพัฒนาชุมชน โดยสัตยาเคราะห์อาศัยการยึดมั่นในความจริง คำนี้เกิดขึ้นหลังมีการเคลื่อนไหวของประชาชนภายหลังคานธี ได้นิยามคำศัพท์ใหม่นี้ว่า พลังแห่งสัจจะ วิธีนี้ประสบผลสำเร็จและยังใช้จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่การแก้ปัญหาระดับปัจเจก ไปจนถึงระดับประเทศ โดยนำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นในการเปลี่ยนแปลงสังคม ส่วนหลักเอกทศวัตร คานธีนำหลักความประพฤติ ๑๑ ข้อมาใช้ในหลักอาศรม โดยพยายามเปลี่ยนสิ่งที่ถือในเวลานั้นว่าเป็นคุณธรรมของปัจเจกให้เป็นค่านิยมของคนในสังคม การพัฒนาชุมชน นับแต่วันที่เริ่มงานต่อต้านแบบสันติวิธีก็คิดทำงานเชิงบวกควบคู่ไปด้วย ห้องทดลองการทำงานพัฒนาชุมชนแห่งแรกของคานธี คือ อาศรมสองแห่งที่เขาตั้งขึ้นที่แอฟริกาใต้ ที่เรียกว่าชุมชนฟีนิกซ์และไร่ตอลสตอย

          หลักตรีภาวะสัมพันธ์คือเครื่องมือทั้ง  ๓ ประการ ที่คานธีใช้ คือ สัตยาเคราะห์ต่อสู้กับการกดขี่ ใช้เอกทศวัตรและการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นวิธีซึ่งทำให้ประชาชนมองเห็นภาพสังคมแบบใหม่ที่พวกเขาอยากเห็น คือสังคมที่ไม่ใช้ความรุนแรง ขณะที่สัตยาเคราะห์พยายามขจัดความอยุติธรรมให้หมดไปจากสังคม การทำงานพัฒนาชุมชนก็เป็นตัวสร้างสังคมแบบใหม่ ที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพและความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕